กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1521
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการรับชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่นทางโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Influence of Korean, Chinese and Japanese Drama Television Program on Consumers in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารีนา เลิศแสนพร
Areena Lertsaenporn
ชุฎิมาพร วงศ์วิเศษ
Shutimapron Wongwises
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
คำสำคัญ: ผู้ชมโทรทัศน์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Television viewers -- Thailand -- Bangkok
ละครโทรทัศน์ -- เกาหลี
Television series -- Korea
ละครโทรทัศน์ -- จีน
Television series -- China
ละครโทรทัศน์ -- ญี่ปุ่น
Television series -- Japan
ละครโทรทัศน์ -- ไทย
Television series -- Thailand
อิทธิพล (จิตวิทยา)
Influence (Psychology)
วันที่เผยแพร่: 2007
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเลือกรับชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่นทางโทรทัศน์ 2) ศึกษาถึงผลลัพธ์ของประชาชนที่รับชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่น 3) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านพฤติกรรมของผู้ชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 272 คน ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นหญิง ร้อยละ 79.8 ชาย ร้อยละ 20.2 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 21 – 30 ปี และการศึกษาระดับปริญญาตรีในการศึกษาพบว่า ละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่นที่แพร่ภาพออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลาที่ทำการวิจัยมีอยู่หลายเรื่อง จากการสอบถามผู้ชมเกี่ยวกับการรับชมละครได้สรุปผลละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับของแต่ละชนชาติ คือ 1) ละครจากประเทศเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” 2) ละครจากประเทศจีนเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” และ 3) ละครจากประเทศญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” และละครจีนเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจะมีการรับชมในสัดส่วนที่สูงกว่าเพศหญิง ส่วนละครญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” ในสัดส่วนการรับชมของเพศชายและเพศหญิงนั้นไม่มีความแตกต่าง ช่วงวัยที่นิยมรับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” มากที่สุดส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ ที่มีอายุระหว่าง 31-50 ปี ผู้ที่รับชมละครจีนเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็น ผู้ที่มีสถานภาพโสดซึ่งอาจเป็นเพราะช่วงเวลาออกอากาศเป็นช่วงเย็นผู้ที่มีครอบครัวจึงใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน สำหรับปัจจัยทางด้านอาชีพ ผู้ที่รับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ประกอบอาชีพกิจการส่วนตัว ส่วนผู้ที่รับชมละครญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” จะประกอบอาชีพข้าราชการ สำหรับแนวละครที่ชื่นชอบของผู้ชมนั้น พบว่าผู้ที่รับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” จะชื่นชอบละครแนวคอมเมดี้ และผู้ที่รับชมละครญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” จะเป็นผู้ที่ชื่นชอบละครแนวกุ๊กกิ๊ก เบาสมองกล่าวได้ว่าสังคมไทยที่อยู่ในสภาวะเครียด กับปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ยังคงต้องการความบันเทิงที่ทำให้ได้พักผ่อน คลายเครียด และความชื่นชอบของผู้ชมนั้นแตกต่างกัน ฉะนั้นก็จะมีการนิยมรับชมละครที่ตนชื่นชอบแตกต่างกัน ผู้ผลิตเองก็จะเน้นผลิตละครหรือนำเสนอละคร ตามกระแสสังคม โดยเฉพาะละครที่เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมจากผู้ชมปัจจุบันเริ่มมีกระแสการผลิตละครเพื่อสังคม โดยคำนึงถึงผู้ที่รับชมในแต่ละช่วงวัยมากขึ้น เช่น การจัดเรตติ้งละครที่ผู้ใหญ่ควรแนะนำเมื่อเด็กนั่งดูอยู่ด้วย หรือการผลิตละครที่ส่งเสริมความเป็นครอบครัวที่มีความสุข มีเรื่องราวเสนอถึงปัญหา และวิธีการแก้ไขของตัวละครที่ดำเนินในเรื่อง ทั้งนี้ผู้รับชมสามารถเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กับได้รับแง่คิดที่ดีมากมาย แต่ทว่างานวิจัยในเรื่องนี้ ผู้ศึกษาเห็นว่าสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการให้ข้อเสนอแนะให้มีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับชมละครทางโทรทัศน์ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1521
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Chutimaporn-Wongwiset.pdf
  Restricted Access
3.43 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น