กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1648
ชื่อเรื่อง: | ฤทธิ์ต้านเชื้อ Salmonella enteritidis เบื้องต้นจากสมุนไพรไทยบางชนิด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Screening of Anti-Salmonella enteritidis Activity of Some Thai Herbs |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัชรินทร์ รังษีภาณุรัตน์ พวงน้อย โลหะขจรพันธ์ อิสยา จันทร์วิทยานุชิต มัณฑนา เพ็งมาก Watcharin Rangsipanuratn Puangnoi Lohakachompan Issaya Janwittayanuchit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology Prince of Songkla University. Faculty of Medicine |
คำสำคัญ: | สมุนไพร -- ไทย Herbs -- Thailand ซาลโมเนลลา Salmonella enteritidis ท้องร่วง Diarrhea |
วันที่เผยแพร่: | 2006 |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารสหเวชศาสตร์ 6,1 (2549) : 1-10 |
บทคัดย่อ: | สมุนไพรไทยหลายชนิดนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคอุจจาระร่วง คณะผู้วิจัยจึงเลือกสมุนไพรไทย 4 ชนิด มาศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อ Salmonella enteritidis ได้แก่ กระชาย ข่า ฟ้าทะลายโจร
และกานพลู โดยนำเหง้ากระชาย เหง้าข่า ใบฟ้าทะลายโจรมาสกัดสารสำคัญแบบต่อเนื่องด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 และน้ำมันระเหยจากดอกกานพลูนำมาทดสอบกับเชื้อ Escherichia coli ATCC 25922 และ S. enteritidis ที่แยกจากอุจจาระของผู้ป่วย 20 สายพันธุ์ โดยวิธี agar-well diffusion ผลการวิจัยพบว่าน้ำมันระเหยจากดอกกานพลูมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ E. coli ATCC 25922 และ S. enteritidis ได้ร้อยละ 65.0 (13 ใน 20 สายพันธุ์) ส่วนสารสกัดจากเหง้ากระชาย เหง้าข่า และใบฟ้าทะลายโจรไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ พบว่าน้ำมันระเหยจากดอกกานพลูมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญ (MIC) ของเชื้อ E. coli ATCC 25922 และ S. enteriidis 3 สายพันธุ์ เท่ากับร้อยละ 0.63 (ปริมาตร/ปริมาตร) Several Thai herbs are commonly used as a traditional medicine for diarrhea. Four Thai herbs were selected to screen for antimicrobial activity against Salmonella enteritidis. The activity of 70% alcohol extracts of Bosenbergia pandurata Holtt, Alpinia galanga, Andro-graphis paniculata (Burm f.) Nees and the essential oils of Syzygium aromaticum were screened against Escherichia coli ATCC 25922 and twenty species of clinical isolated S. enteritidis by agar well diffusion. The results showed that only the essential oil extracted from Syzygium aromaticum could inhibit the growth of E. coli ATCC 25922 and the thirteen out of twenty clinical isolated S. enteritidis (65%) while the rest of them exhibited no antimicrobial activity. Minimal inhibitory concentration (MIC) of the essential oil extracted from Syzygium aromaticum against E. coli ATCC 25922 and three clinical isolated S. enteritidis was 0.63% (volume/volume). |
รายละเอียด: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ahs.chula.ac.th/main/paper_upload/AHS_journal/AHS_Journal_vol.1.pdf |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1648 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Medical Technology - Articles Journals |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Screening-of-Anti-Salmonella-enteritidis.pdf | 76.56 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น