กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1910
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านนวดแผนไทย และการยอมรับนวัตกรรมการนวดแผนไทยแบบบุฟเฟ่ต์ในการให้บริการในร้าน : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางปู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Market Stimulative Factors Affecting the Selection of Thai Massage and the Innovative Acceptance of Thai Buffet Massage in Bang Poo Industrial Estate
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พวงชมพู โจนส์
Puangchompoo Jones
กมลรัตน์ สุดศรี
Kamolrat Sudsri
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: การนวด -- ไทย -- การตลาด
Massage -- Thailand -- Marketing
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
วันที่เผยแพร่: 2010
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดที่มีผลกต่อการเลือกใช้บริการร้านนวดแผนไทยและการยอมรับนวัตกรรมการนวดแผนไทยแบบบุฟเฟ่ต์ในการให้บริการในร้าน : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางปู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในการใช้บริการนวดแผนไทย ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดที่ผลต่อการเลือกใช้บริการร้านนวดแผนไทย และเพื่อศึกษาการยอมรับนวัตกรรมการนวดแผนไทยในการให้บริการในร้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มประชากรที่มีโอกาสในการใช้บริการนวดแผนไทยในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 ชุด ซึ่งการวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และเนื่องจากการแจกแจงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างมีการสุ่มตัวอย่างมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติ ดังนั้น จึงใช้ค่าสถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ (Non Parametric Statistic) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 69.2 มีช่วงอายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 44.1 มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีร้อยละ 31 มีรายได้เฉลี่ย 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 31.1 และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 67.5 การศึกษาพฤติกรรมในการใช้บริการนวดแผนไทย พบว่าร้อยละ 58.2 เคยใช้บริการนวดแผนไทย และรูปแบบการบริการนิยมการนวดทั้งตัว ร้อยละ 38.1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดและรักษาอาการปวดเมื่อยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อร้อยละ 48.9 ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 100-200 บาท ร้อยละ 38.2 ส่วนความถี่ ช่วงเวลา และวันในการเข้ารับบริการไม่แน่นอน และร้อยละ 56.2 นิยมใช้บริการมากกว่า 1 ร้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการนวดแผนไทย พบว่า ภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับทุกๆ ปัจจัย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการนวดแผนไทยในระดับมาก โดยปัจจัยด้านบุคลากรจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการนวดแผนไทยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านราคา ด้านสิ่งนำเสนอทางกายภาพ ด้านสถานที่ ด้านกระบวนการ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความรู้ในนวัตกรรมการนวดแผนไทยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อนวัตกรรมการนวดแผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมการนวดแผนไทยมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการนวดแผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และประโยชน์และความเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับหลังจากการใช้บริการนวดแผนไทยมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมการนวดแผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในการดำเนินธุรกิจนวดแผนไทยที่มีภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการจึงต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและต้องทำการแสวงหาแนวทาง วิธีการ หรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างรูปแบบการบริการที่แตกต่างจากกลุ่มคู่แข่งและดึงดูดใจผู้บริโภค โดยจะต้องปรับกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติได้ตรงจุด ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจได้ในอนาคต
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1910
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Kamolrat-Sudsri.pdf
  Restricted Access
28.26 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น