กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1921
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงบริการจากกองทุนผู้สูงอายุ ศึกษาเฉพาะกรณีองค์กรของผู้สูงอายุในภาคกลาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Obstacles and Problems of Accessibility to Services from the Elderly Fund : A Case Study of the Organizations of the Elderly in the Central Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn กรวิกา สมานไทย Kornvika Samanthai Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
คำสำคัญ: | การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ -- ไทย Older people -- Services for -- Thailand. กองทุนผู้สูงอายุ Older Persons’ Fund |
วันที่เผยแพร่: | 2011 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงบริการจากกองทุนผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์กรของผู้สูงอายุในภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุขององค์กรที่ขอรับการสนับสนุน และแนวทางและวิธีการในการพัฒนาการเข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ องค์กรที่ได้รับการสนับสนุนโครงการจากกองทุนผู้สูงอายุ จำนวน 20 องค์กร และเจ้าหน้าที่กองทุนผู้สูงอายุ จำนวน 7 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-Depth Interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษาโดยสรุป ดังนี้ องค์กรที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นชมรมผู้สูงอายุมีจำนวนสมาชิกมากกว่า 500 คน และดำเนินกิจกรรมด้านองค์กรด้านสุขภาพ อนามัย ผลการศึกษาภาพรวมลักษณะการเข้าถึงบริการองค์กรส่วนใหญ่เข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด การรับรู้สิทธิในการรับบริการอยู่ในระดับดี โดยรับรู้จากเอกสารประชาสัมพันธ์ของกองทุนผู้สูงอายุ สำหรับองค์กรฯ ส่วนใหญ่ มีวิธีการเข้าถึงบริการ โดยได้รับการเผยแพร่การสนับสนุนโครงการและได้รับคำแนะนำจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) โดยสื่อที่เหมาะสมสำหรับประชาสัมพันธ์การสนับสนุนโครงการ คือ แผ่นพับองค์กรจำนวนครึ่งหนึ่งเคยได้รับการสนับสนุนมาก่อนแล้ว โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านสุขภาพ อนามัย และได้รับคำแนะนำจากเกี่ยวกับเสนอโครงการจากเจ้าหน้าที่กองทุนผู้สูงอายุเป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับการอำนวยความสะดวกจากเจ้าหน้าที่กองทุนผู้สูงอายุดีมาก องค์กรส่วนใหญ่ได้ดำเนินการตามกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการและบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีความพึงพอใจต่อการได้รับการสนับสนุนมาก ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุที่เกิดจากองค์กรที่ขอรับการสนับสนุน พบว่า ส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจในการเขียนโครงการเนื่องจากขาดความรู้ ประสบการณ์และขาดตัวอย่างโครงการที่ผ่านการพิจารณาสนับสนุน ด้านหลักเกณฑ์ พบว่า บางหลักเกณฑ์ไม่สามารถใช้กับทุกองค์กรได้เฉพาะขาดความสอดคล้องในเชิงพื้นที่ ด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง และรูปแบบของสื่อไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ระดับนโยบาย ควรทบทวน ปรับปรุงระเบียบหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ และให้คำแนะนำแนวทางการเขียนโครงการระดับปฏิบัติ กองทุนผู้สูงอายุ ควรปรับลดขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนโครงการและส่งเสริมการให้ความรู้ ในการเขียนโครงการแก่องค์กรที่ขอรับการสนับสนุนโครงการ |
รายละเอียด: | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1921 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Kornwika-Samarnchai.pdf Restricted Access | 10.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น