กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1979
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing Activity Development for Private Higer Education Institutions of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พวงชมพู โจนส์ Puangchompoo Jones กันต์ฤทัย เมฆสุทร Kunruetai Megsutorn Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การรับนักศึกษา Universities and colleges -- Admission การสื่อสารทางการตลาด Communication in marketing การจูงใจ (จิตวิทยา) Motivation (Psychology) |
วันที่เผยแพร่: | 2010 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเข้าศึกษากิจกรรมทางการตลาดที่นักเรียนและอาจารย์แนะแนวให้ความสำคัญ และทัศนคติของอาจารย์แนะแนวต่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสอบถามจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 413 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการสัมภาษณ์อาจารย์แนะแนว จำนวน 6 ราย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุ 17 ปี มีระดับผลการเรียน 3.00-3.50 ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดโรงเรียนประเภทรัฐบาล มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ภาคใต้ มีรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัวเฉลี่ย 10,001-15,000 บาท กรณีที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐบาลไม่ได้ จะเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนรองลงมา โดยเลือกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด คือ การเข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย (Open House) และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ คือ ตัวของนักเรียนเอง ในการประเมินความสามารถของนักเรียนพบว่า นักเรียนประเมินตนเองว่ามีความสามารถปานกลาง และปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในทุกปัจจัย ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ภูมิภาคที่อาศัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเกรดเฉลี่ยสะสม รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อมูลส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ เกรดเฉลี่ยสะสมส่งผลต่อการเลือกประเภทสถาบันอุดมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามภูมิภาคที่อาศัย และรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว ส่งผลต่อการเลือกประเภทสถาบันอุดมศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการประเมินความสามารถตนเองต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จัดขึ้น มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันตามกัน ส่วนการสัมภาษณ์อาจารย์แนะแนวเกี่ยวกับทัศนคติของอาจารย์แนะแนะต่อสถาบันอุดมมศึกษาเอกชน พบว่า อาจารย์แนะแนวมีทัศนคติในด้านบวกต่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านความไว้วางใจและเชื่อมั่นความมีชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับมาตรฐานความทันสมัย หลักสูตรสาขาวิชาที่หลากหลาย มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย และอาจารย์ให้การดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนควรจัดกิจกรรมมากที่สุดให้กับนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือ กิจกรรมเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย (Open House) และ ควรมีการเสริมทักษะความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการสอนของอาจารย์แนะแนวด้วย |
รายละเอียด: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1979 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Kunrutai-Maksuthorn.pdf Restricted Access | 15.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น