กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1991
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการซื้อข้าวสารของผู้บริโภคในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Rice Purchasing Behavior of Consumers in Bangplee District, Samutprakan Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลั่นทม จอนจวบทรง Lanthom Jonjuabtong กานต์ธิดา ผดุงผล Kanthida Padungphol Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | พฤติกรรมผู้บริโภค Consumer behavior ข้าว Rice การจัดซื้อ Purchasing บางพลี (สมุทรปราการ) Bangplee (Samut Prakarn) |
วันที่เผยแพร่: | 2012 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพฤติกรรมการซื้อข้าวสารของผู้บริโภค โดยมีหลักเกณฑ์การเลือกข้าวสารที่สำคัญที่ผู้บริโภคทำการพิจารณาก่อนการซื้อข้าวสารของผู้บริโภรคในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณอย่างเดียว ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสอบถามจากในเขตอำเภอบางพลี จำนวน 400 ชุด โดย 1 ครัวเรือน ได้แบบสอบถาม 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานภาพโสด มีรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัวเฉลี่ย 10,001-20,000 บาท มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-2 คน พฤติกรรมการซื้อข้าวสารของผู้บริโภคในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ประเภทข้าวสารที่ซื้อเป็นข้าวสารใหม่ เป็นอันดับแรก จะซื้อข้าวสารเก่าเป็นอันดับรองลงมาเป็นอันดับที่สอง โดยลักษณะการซื้อข้าวสารจะเป็นการซื้อข้าวสารบรรจุถึง 5 กิโลกรัมเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลในการซื้อของผู้บริโภค เพราะหาซื้อหาได้สะดวก ประหยัดเวลา อันดับรองลงมาเป็นการซื้อข้าวสารบรรจุถัง 15 กิโลกรัม เหตุผลในการซื้อของผู้บริโภค เพราะต้องใช้ในการบริโภคปริมาณมาก การซื้อข้าวสารของผู้บริโภรคจะซื้อเดือนละครั้ง มีการซื้อข้าวสาร ในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่มีข้าวสารให้เลือกตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ผู้ที่มีอิทธิพลในการซื้อข้าวสารส่วนใหญ่ คือ ตัวท่านเองที่ทำการซื้อข้าวสารในแต่ละครั้ง พฤติกรรมการซื้อข้าวสารของผู้บริโภค มีหลักเกณฑ์โดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพของข้าวสารทั้งในรูปทรง เมล็ด และสีของข้าวสาร รวมทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีการวัดความชื้นในการซื้อข้าวสารทุกครั้งที่มีความสำคัญมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่ กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ รายได้ รวมต่อเดือนของครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อข้าวสารในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสถานภาพมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อช้าวสารในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อมูลส่วนตัวจำแนกตามเพศ สถานภาพ รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว และสมาชิกในครอบครัว มีผลต่อหลักเกณฑ์การเลือกซื้อข้าวสารตามลักษณะทางภายภาพของข้าวสาร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1991 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Kanthida-Padungpol.pdf Restricted Access | 13.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น