กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2010
ชื่อเรื่อง: การจัดซื้อหนังวัวดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกา : กรณีศึกษา บริษัท ซี.พี.แอล.กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Raw Hide Purchasing from U.S.A. : A Case Study of C.P.L. Group Public Co., Ltd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิชัย สายสดุดี
Apichai Saisadudee
กิติชัย วงษ์เจริญสิน
Kitichai Wongcharoensin
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: หนังฟอก
Hides and skins
การฟอกหนัง
Tanning
อุตสาหกรรมฟอกหนัง
Tanning industry
วันที่เผยแพร่: 2008
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาอิสระฉบับนี้ เป็นการศึกษาเรื่องการจัดซื้อหนังวัวดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีศึกษา บริษัท ซี.พี. แอล. กรุ๊พ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและเสนอข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดซื้อหนังวัวดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกา และหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดและจุดสั่งซื้อใหม่ มีขั้นตอนการดำเนินการศึกษาโดยใช้ช้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เช่น ช้อมูลที่ทางบริษัทฯ ทำการเก็บข้อมูลไว้ ได้แก่ ข้อมูลการจัดซื้อหนังวัวดิบ ข้อมูลปริมาณการใช้หนังวัวดิบในการผลิต เป็นต้น และข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ได้แก่ ข้อมูลจากการสังเกตการทำงาน (Observation) และการตอบแบบสอบถามของพนักงานฝ่ายจัดซื้อหนังดิบ จากนั้นนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาปัญหาที่พบในกระบวนการจัดซื้อหนังวัวดิบ ต่อจากนั้นนำเอาแผนผังเหตุและผล มาทำการะบุสาเหตุของปัญหา โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีด้านการจัดซื้อแบบทันเวลาพอดี (Just in Time Purchasing) การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) การหาจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-Order Point) การพยากรณ์ (Forecasting) และการเลือกผู้ขาย (Vendor Selection) มาใช้อ้างอิงในการศึกษา ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการศึกษากระบวนการจัดซื้อหนังวัวดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถระบุปัญหาที่พบไว้ 3 สาเหตุ ได้แก่ 1) ราคาของหนังวัวดิบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2) การประสานงานการส่งมอบวัตถุดิบไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากพนักงานจัดซื้อหนังดิบไม่สามารถสื่อสารโดยตรงกับผู้ขายหนังวัวดิบได้ และผู้ขายไม่สามารถส่งของได้ตามที่ตกลงไว้ 3) คุณลักษณะของวัตถุดิบไม่ตรงตามที่สั่งซื้อ เนื่องจากหนังวัวมีขนตามธรรมชาติปกคลุมอยู่ทำให้ยากในการตรวจคุณภาพของหนังวัวดิบ จากการวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการจัดซื้อหนังวัวดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ศึกษาเสนอข้อเสนอแนะนำเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ ดังนี้ 1) ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดอยู่ที่ 735 ตัว และจุดสั่งซื้อใหม่อยู่ที่ 120,000 ตัว 2) จัดสร้างแบบฟอร์มประเมินผู้ขาย เพื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของนายหน้าขายหนังดิบ 3) จัดทำกราฟเส้นเพื่อแสดงแนวโน้มราคาหนังวัวดิบเพื่อทำการเปรียบเทียบเป็นรายสัปดาห์ 4) แนะนำการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษแก่พนักงานจัดซื้อหนังวัววดิบ
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2010
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Kittichai-Wongcharoensin.pdf
  Restricted Access
6.71 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น