กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2018
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของลูกค้า ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attitude and Behavior toward Using Internet Banking of TMB Bank Public Company Limited : A Case Study of Bangkok and Periphery
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พวงชมพู โจนส์
Puangchompoo Jones
ขนิษฐา เลิศวัฒนวานิช
Kanitta Lerdwattanavanith
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
Thai Military Bank Public Company Limited
ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต -- ไทย
Internet banking -- Thailand
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
วันที่เผยแพร่: 2006
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติพฤติกรรมของผู้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาธรุกิจของธนาคารทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการแข่งขันระหว่างธุรกิจด้วยกัน และสามารถนำจุดอ่อนและจุดแข็งมาปรับเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาทำการสุ่มตัวอย่างผู้ที่ใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาเฉพาะในเขตจังหวัดกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนเพศหญิงร้อยละ 56.5 และเพศชายร้อยละ 43.5 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 26-33 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 20,000-30,000 บาท ใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้ง/สัปดาห์ ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. ใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตที่ทำงาน ใช้บริการในเรื่องสอบถามยอดคงเหลือ สาเหตุสำคัญที่ใช้บริการคือ สามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทัศนคติการใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตในด้านคุณลักษณะมีทัศนคติเกี่ยวกับความหลากหลายของบริการในระดับค่อนข้างมาก ในด้านเงื่อนไขการบริการมีทัศนคติเกี่ยวกับการโอนเงินระหว่างบัญชีของตนเองไม่จำกัดวงเงินได้ตลอด 24 ชม. ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดด ในด้านค่าธรรมเนียมบริการใช้บริการมีทัศนคติเกี่ยวกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีในระดับจูงใจมากที่สุด และการมีค่าธรรมเนียมโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารทหารไทยของตนเองในระดับไม่เห็นด้วยมากที่สุด ในด้านบริการพิเศษของบริการมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริการสอบถามยอดบัญชีคงเหลือ (เช่น บัญชีกระแสรายวัน/บัญชีออมทรัพย์/ฝากประจำ/สินเชื่อ/บัตรเครดิต) ในระดับต้องการมากที่สุด ในด้านบริการเสริมของบริการมีทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนรหัสลับส่วนตัวในระดับพอใจมากที่สุด สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าทัศนคติทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตทุกประเด็น สิ่งที่น่าพิจารณาต่อไปอีกจากผลการศึกษาในภาคนิพนธ์ฉบับนี้ พบว่า ธนาคารควรใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการมาใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตต่อไป
รายละเอียด: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2018
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Kanittha-Lerdwattanawanich.pdf
  Restricted Access
12.78 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น