กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2222
ชื่อเรื่อง: | ความพอใจในงานของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณี พนักงานบริษัท ยอร์ค แอร์ จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Job Satisfaction of Employees : A Case Study of York Air Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนาะ ติเยาว์ Sanoh Tiyao จิตรา พัฒนกิจเจริญการ Chitra Phattanakitcharoen Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | ความพอใจในการทำงาน Job satisfaction บริษัท ยอร์ค แอร์ จำกัด -- พนักงาน York Air Company Limited -- Employees |
วันที่เผยแพร่: | 1999 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้มี 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาความพอใจในงานของพนักงานบริษัท ยอร์คแอร์จำกัด ในภาพรวมและในองค์ประกอบย่อยของความพอใจในงาน (2) เพื่อศึกษาลำดับขององค์ประกอบควาพอใจในงานของพนักงาน จากองค์ประกอบที่พอใจมากที่สุดไปถึงงพอใจน้อยที่สุด (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านภูมิหลังต่างๆ กับความพอใจในงานของพนักงาน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในระดับเจ้าหน้าที่ถึงระดับผู้จัดการ จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย คำถาม 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของพนักงาน ส่วนที่สอง เป็นแบบวัดความพอใจในงาน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 12 ด้าน ได้แก่ เงินเดือนและสวัสดิการ ความมั่นคงในงาน ลักษณะของงาน นโยบายการบริหาร การควบคุมบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบในงาน และความสำเร็จในงาน การวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติ คือ ใช้ค่าร้อยละในการพรรณนาข้อมูล ส่วนในการวิเคระห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผู้วิจัยได้มีการใช้ตัวสถิติ คือ ไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับวิธีการประมวลผลเพื่อวิเคราะห์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก โดยใช้โปรแกรม SPSS for Window และ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ คือ1. เกี่ยวกับความพอใจในงานของพนักงานในภาพรวมและในองค์ประกอบย่อยของความพอใจในงาน พบว่า พนักงานมีความพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง และเมื่อพิจารณาความพอใจในงานในองค์ประกอบย่อยต่างๆ มีความพอใจในองค์ประกอบดด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและความรับผิดชอบในงานโดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความพอใจในด้านความก้าวหน้าในงานมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด 2. ลำดับขององค์ประกอบความพอใจในงานของพนักงานเรียงจากที่พอใจมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 2) ความรับผิดชอบในงาน 3) ความสำเร็จในงาน 4) การได้รับการยอมรับนับถือ 5) ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 6) ความมั่นคงในงาน 7) ลักษณะของงาน 8) การควบคุมบังคับบัญชา 9) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 10) นโยบายการบริหาร 11) เงินเดือนและสวัสดิการ 12) ความก้าวหน้าในงาน3. ตัวแปรภูมิหลังของพนักงาน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนบุตรที่รับผิดชอบ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน จำนวนปีที่ปฏิบัติงานรวม จำนวนปีที่ปฏิบัติงานกับบริษัทและตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีความสัมพันธ์กับความพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการสำรวจครั้งนี้ ทำให้เข้าใจในเรื่องความรู้สึกต่องานของพนักงานในบริษัทยอร์คแอร์ จำกัด และทราบถึงสาเหตุของการขาดแรงจูงใจในการทำงาน อันมีผลต่อความตั้งใจในการทำงานและมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในบริษัท |
รายละเอียด: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2222 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Jitra-Patakicharoenkarn.pdf Restricted Access | 12.8 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น