กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2224
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Related to Drug Recidivists in Minburi Prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Thipaporn Phothithawil
จิรัฐิกา พรคงธวัช
Jirathtiga Pornkongtavat
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
คำสำคัญ: ยาเสพติด
Narcotics
นักโทษ
Prisoners
การกระทำผิดซ้ำ
Recidivism
สังคมประกิต
Socialization
การขัดเกลาทางสังคม
วันที่เผยแพร่: 2005
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยภูมิหลังของผู้ต้องขังที่กระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ต้องขังที่กระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ ประมวลผลข้อมูลดด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมและการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวอยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ย 3.7 สภาพแวดล้อมทางด้านครอบครัว มีความเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96 สภาพแวดล้อมด้านการคบเพื้อน (ภายนอกเรือนจำ) อยู่ในระดับมีปญหาปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.08 สภาพแวดล้มอด้านชุมชนที่กลุ่มตัวอย่างอยู่อาศัย อยู่ในระดับมีปัญหาปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.5 จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ครอบครัว พ่อแม่ของกลุ่มตัวอย่างควรอบรมกลุ่มตัวอย่างให้มีความเกรงใจผู้อื่นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมจากที่เคยอบรมแล้ว และในด้านสภาพแวดล้อมด้านครอบครัวให้การต้อนรับ เมื่อเวลากลุ่มตัวอย่างพ้นโทษออกมาอย่างอบอุ่นอย่างนี้ดีแล้ว แต่ควรเพิ่มเติมในเรื่องของการให้คำปรึกษาและคอยชี้แนะให้รู้ถึงความร้ายกาจของยาเสพติด ส่วนด้านการคบเพื่อน (ภายนอกเรือนจำ) ควรหลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่เกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หรือประกอบอาชีพใดๆ เพราะคนพวกนี้จะมีเวลาว่างมากทำให้คิดอะไรฟุ้งซ่าน กล้าทำในทุกสิ่งทุกอย่าง ในด้านชุมชนที่อยู่อาศัย (ก่อนต้องโทษ) กลุ่มตัวอย่างควรหลีกเลี่ยงหรือย้ายออกไปจากแหล่งที่มีสถานเริงรมย์ สถานบริการทางเพศพวกนี้ และทางส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งปราบปรามแหล่งอบายมุขเหล่านี้ให้หนักและมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อช่วยให้เยาวชนหลีกหนีสิ่งที่ไม่ดีเหล่านี้
รายละเอียด: ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2224
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Jirattika-Pornkongtawat.pdf
  Restricted Access
10.32 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น