กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2235
ชื่อเรื่อง: | การติดตามผลโครงการจัดหาที่อยู่ใหม่เพื่อรองรับราษฎรในเขตพื้นที่เวนคืนเพื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานสากล แห่งที่ 2 หนองงูเห่า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Monitering on People Resettlement from in the Area Provided for Nong Nguhao Community the New Bangkok Internation Airport Coustruction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya จิตพล สิทธิประณีต Jitpol Sittipraneed Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
คำสำคัญ: | การเวนคืนที่ดิน Eminent domain การย้ายที่อยู่อาศัย Relocation (Housing) คุณภาพชีวิต Quality of life สนามบินสุวรรณภูมิ Suvarnabhumi (Airport : Bangkok, Thailand) หนองงูเห่า Nong Nguhao (Samut Prakarn) โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ |
วันที่เผยแพร่: | 2000 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาการติดตามผลโครงการจัดหาที่อยู่ใหม่เพื่อรองรับราษฎรในพื้นที่เวนคืนเพื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต และปัญหาอุปสรรคในการปรับตัวให้เข้ากับที่อยู่ใหม่ที่รัฐจัดให้ของราษฎรที่ถูกอพยพจากพื้นที่เวนคืน ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกับราษฎรทั้งที่อยู่ในที่ที่รัฐจัดให้และที่ราษฎรจัดสรรกันเอง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ราษฎรที่อพยพไปอยู่ในพื้นที่ที่รัฐจัดให้ จำนวนครัวเรือนมีจำนวนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากได้มีการเรียกร้องความช่วยเหลือเป็นเงินแทนที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งราษฎรทั้งที่เลือกที่ดินที่รัฐจัดให้นี้ และที่รับเงินโดยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีไปกว่าเก่า และมีบางส่วนที่ระดับคุณภาพชีวิตลดลง 2. ราษฎรที่ถูกอพยพมาจากพื้นที่เวนคืน ยังมีปัญหาการปรับตัวค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในเรื่องอาชีพ ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เมื่อย้ายมาอยู่ในที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ จึงต้องประกอบอาชีพอื่น ซึ่งบางส่วนไม่มีทักษะในการประกอบอาชีพใหม่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งนอกจากจะไม่มีงานทำแล้ว ยังต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบชุมชนบ้านจัดสรร อันแตกต่างจากวิถีชีวิตเดิมในชุมชนหนองงูเห่าเป็นอันมาก นอกจากนั้น ราษฎรบางส่วนที่ยังต้องการประกอบอาชีพทางการเกษตร ต้องย้ายถิ่นไปอยู่ในที่ห่างไกล เพื่อรับจ้างในภาคเกษตรกรรม เกิดสภาพการแยกครอบครัวจากครอบครัวเดิม ทำให้ครอบครัวขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลงขนาดไป จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลในการทำโครงการขนาดใหญ่ให้มีความรอบคอบในการกำหนดนโยบาย สำหรับหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด |
รายละเอียด: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2235 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Jitpol-Sitthipraneet.pdf Restricted Access | 11.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น