กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2538
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการบริหารจัดการ กระบวนการการป้องกันภัยน้ำท่วมของชุมชนในเขตบางกรวย-ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี กรณึศึกษาหมู่บ้านศิริวรรณ 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Study on Flooding Protection Process Management of the Community in Bangkruy-Sainoi, Nonthaburee Province : A Case Study of Siriwan Village 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลั่นทม จอนจวบทรง
Lanthom Jonjuabtong
ชโลธร กุลถาวรากร
Chalotorn Kuntarvalarkorn
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: น้ำท่วม -- ไทย -- นนทบุรี
Floods -- Thailand -- Nonthaburee.
หมู่บ้านศิริวรรณ 1 (บางกรวย-ไทยน้อย, นนทบุรี)
Siriwan Village 1 (Bangkruy-Sainoi, Nonthaburee)
การป้องกันน้ำท่วม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Flood control -- Citizen participation.
อุทกภัย -- ไทย -- นนทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2012
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านการบริหารจัดการ การป้องกันน้ำท่วมของผู้พักอาศัยในหมู่บ้านศิริวรรณ 1 เขตบางกรวย-ไทรน้อย จ. นนทบุรี จากประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านดังกล่าว ในด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการบริหารจัดการกระบวนการป้องกันภัยน้ำท่วม การมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในชุมชน และด้านปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคจากการสัมภาษณ์ประชาชนในหมู่บ้านศิริวรรณ 1 ที่อยู่ในเหตุการณ์และเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ป้องกันภายครั้งนี้ โดยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจังเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า1. การบริหารบุคคล (Man) ในการสรรหาบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน ได้เลือกจากความรู้ ความสามารถ รวมทั้งประสบการณ์ในการทำงานที่เหมาะสมกับการป้องกันภัยในครั้งนี้ และการแบ่งสรรบุคคลในการตรวจตรา ควบคุม การเพิ่มขึ้น-ลดลง ของน้ำในแต่ละวัน ซึ่งการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกและภายใน จึงทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย2. การบริหารงบประมาณการเงิน ในการบริหารการเงิน (Moneyได้มาจากการเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในหมู่บ้านจำนวนหลังคาเรือนละ 1,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งการเก็บเงินจากบุคคลที่ประสบภัยน้ำท่วมที่นำรถมาจอดในหมู่บ้าน คันละ 500 บาทต่ออาทิตย์ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางในการบริหารจัดการ การป้องกันภัยในครั้งนี้ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากบุคคลภายในหมู่บ้าน และบุคคลที่นำรถมาจอดก็ยินยอมในการเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น3. การบริหารวัสดุอุปกรณ์ (Material) ในการบริหารจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์ ทางหมู่บ้านสร้างคันดิน และการก่อทราบเพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมเข้าหมู่บ้าน รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกในการยืมเครื่องปั่นน้ำ เพื่อสูบน้ำออกไม่ให้ทะลักเข้ามาในหมู่บ้าน4. การบริหารข้อมูลข่าวสาร (Modern Information/Message) ในการบริหารงานด้านข้อมูลช่าวสาร มีการหาข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกและทางเว็บไซต์เพื่อดูการเข้ามาของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันที่เพิ่มขึ้นซึ่งข้อมูลที่ได้รับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของบุคคลในชุมชนบุคคลในหมู่บ้านศิริวรรณ 1 ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจึงทำให้สมาชิกในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันความเสียหาย และได้รับความร่วมมือจากสมาชิกที่อยู่เป็นอย่างดี ทุกคนมีความสามัคคี มีน้ำใจซึ่งกันและกัน และให้ความช่วยเหลือจึงทำให้การบริหารจัดการ การป้องกันภัยครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จจากการร่วมมือกันของทุกคนในสมาชิกการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการแก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีสติและมีความรอบคอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นมีความรุนแรง ก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคได้ มีการแก้ไขโดยจากทุกฝ่ายช่วยกัน จึงทำให้การป้องกันภัยน้ำท่วมหมู่บ้านศิริวรรณ 1 ประสบความสำเร็จ
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2538
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
A-Study-on-Flooding-Protection.pdf
  Restricted Access
12.54 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น