กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2583
ชื่อเรื่อง: | การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยวิธีการผลิตที่ละหนึ่งชิ้น : กรณีศึกษา บริษัทสแตนเล่ย์ เวิร์ค จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Process Improvement by One Piece Flow Technique : A Case Study of Stanley Work Co., Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิชิต สุขเจริญพงษ์ Pichit Sukchareonpong จิรพงษ์ ศักยพันธ์ Jirapong Sakayaphan Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | ระบบการผลิตแบบทันเวลา Just-in-time systems การควบคุมการผลิต Production control การควบคุมความสูญเปล่า Loss control การบริหารงานแบบญี่ปุ่น Management -- Japan บริษัท สแตนเล่ย์ เวิร์ค จำกัด Stanley Work Co., Ltd. ระบบการผลิตแบบไหลทีละชิ้น One-Piece Flow |
วันที่เผยแพร่: | 2002 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | ภายใต้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันที่สร้างข้อจำกัดให้กับธุรกิจโดยเฉพาะข้อจำกัดทางด้านเงินทุน ดังนั้นจำเป็นที่ธุรกิจจะต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในการใช้จ่ายเงินทุนเพื่อการดำเนินงานด้านการผลิต ระบบการผลิตแบบทันเวลา (Just In Time Manufacturing) เป็นเทคนิคการบริการการผลิตตามแบบญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณภาพโดยรวม และเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องโดยพยายามขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นให้หมดไป การนำระบบการผลิตแบบทันเวลา มาใช้จะสามารถปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตได้ และจะนำมาซึ่งการลดต้นทุนของการผลิต การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการจัดส่งสินค้าได้ทันตามความต้องการ ระบบการผลิตในแบบ One Piece Flow เป็นเทคนิคการผลิตสมัยใหม่ที่ช่วยสนับสนุนระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แทนการผลิตขนาดใหญ่ที่มุ่งจะผลิตครั้งละมากๆ เพื่อหวังจะให้เกิดความประหยัดเนื่องจากขนาด โดยละเลยต่อคุณภาพและความต้องการของลูกค้าจากการศึกษาการพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ระดับน้ำ โดยการนำระบบการผลิตแบบ One Piece Flow มาใช้ในการปรับปรุงสายการผลิต พบว่าประสิทธิภาพของสายการผลิตเพิ่มขึ้น 18.54% จากก่อนการปรับปรุงระบบประสิทธิภาพการทำงานมีค่าเท่ากับ 74.16% เวลาว่างงานในสายการผลิต มีค่าเท่ากับ 18.54% หลังจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 92.70% เวลาว่างในสายการผลิตลดลง 18.54% ประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากปริมาณของเสียเนื่องจากการผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมูลค่าของเสียก่อนการปรับปรุงสายการผลิตในเดือนมกราคม มีค่าเท่ากับ 12.01% เดือนกุมภาพันธ์ 10.86% เดือนมีนาคม 10.86% เมษายน 10.73% ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ได้ทำการปรับปรุงการผลิตของค่าของเสียก็เริ่มลดลงคือ มีค่าอยู่ที่ 6.45% และของเสียในเดือนมิถุนายน ลดลงมาอยู่ที่ 4.27% หลังจากเดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม ค่าของเสียเฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนมิถุนายน |
รายละเอียด: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2583 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Process-Improvement-by-One-Piece-Flow-Technique.pdf Restricted Access | 9.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น