กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2600
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มเนชั่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Employees' Job Satisfaction of the Nation Group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวพัชญ์ นาควัชระ
ญาณิศา วัฒนแพทย์
Yanisa Vatthanapath
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) -- พนักงาน
Nation Multimedia Group -- Employees
ความพอใจในการทำงาน
Job satisfaction
วันที่เผยแพร่: 2003
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: ความพึงพอใจของบุคลากรในการทำงานนั้นมีหลายระดับ และระดับที่จะสามารถก่อให้เกิดความพึงพอใจจนกลายเป็นความจงรักภักดี กระตือรือร้น และเกิดความซื่อสัตย์ จนเกิดเป็นพลังที่จะทำให้เกิดความทุ่มเททั้งร่างกายแรงใจในการทำงาน จนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามที่องค์กรต้องการการศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงนของพนักงานกลุ่มเนชั่น ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย 2 ประการคือ1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มเนชั่น2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มเนชั่น กรุ๊ปการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ โดยแจกสอบถามให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 212 คน โดยแบ่งเป็นพนักงานบริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 122 คน และบริษัทในเครือ 90 คน ในระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2546 จากนั้น นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน คือ t-test และ F-testผลการศึกษาพบว่า1. พนักงานกลุ่มเนชั่น กรุ๊ป มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นระดับปฏิบัติงาน และมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 31-40 ปี สมรสแล้ว ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่า 1 ใน 3 มีอายุงานในบริษัทฯ 11-15 ปี และมีอัตราเงินเดือน 15,001-20,000 บาท และประมาณครึ่งหนึ่งมีแผนในการทำงานในกลุ่มเนชั่น กรุ๊ป จนเกษียณอายุ2. พนักงานกลุ่มเนชั่น กรุ๊ป มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจระดับมาก มีทั้งหมด 6 ด้านเรียงลำดับคะแนน คือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติและด้านการยอมรับนับถือด้านที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในระดับน้อย มีเพียง 2 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเงินเดือน และสวัสดิการ และด้านความก้าวหน้าในการทำงาน3. สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พื้นที่ปฏิบัติงาน กลุ่มงาน อัตราเงินเดือน อายุงานาและแผนสิ้นสุดการทำงาน ไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานข้อเสนอแนะ1. ในระดับนโยบายบริษัทฯ ต้องปรับปรุงในเรื่องความก้าวหน้าของพนักงาน ให้โอกาสแก่พนักงานเก่า หรือพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานในสายงานได้มีโอกาสเลื่อนขึ้นมาในระดับบริหาให้โอกาสในการฝึกอบรมแก่พนักงานในระดับปฏิบัติการบ้างไม่ควรจำกัดการฝึกอบรมเฉพาะหรือเพียงแต่ในระดับบริหารเท่านั้น ทำให้โอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานนั้นถูกจำกัดเพียงกลุ่มคนในระดับบริหาร2. ในการปฏิบัติงานผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ต้องกระจายการทำงานอย่างเป็นธรรม สร้างการทำงานเป็นทีม โดยพนักงานช่วยกันทำงาน และสามารถทำงานแทนกันได้ทุกคน ต้องพิจารณาความดีความชอบให้พนักงานอย่างยุติธรรม มีการวัดผลงานที่ชัดเจน และผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ควรเปิดโอกาสให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
รายละเอียด: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2600
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Employees-Job-Satisfaction.pdf
  Restricted Access
10.89 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น