กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2751
ชื่อเรื่อง: | ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Attitude and Behavior of Consumers with the Service of Bangkok Mass Transit System in Bangkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิรัตน์ ทองรอด Wirat Tongrod ณัฐกานต์ ลักษณะ Nattakarn Laksana Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | รถไฟฟ้า -- ไทย Electric railroads -- Thailand บริการสาธารณะ Public services ทัศนคติ Attitude (Psychology) ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด Bangkok Mass Transit System |
วันที่เผยแพร่: | 2006 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การทำการศึกษาด้วยตนเองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS และระดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการใช้บริการ การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของประชาชนผู้ใช้บริการ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ ส่วนที่ 2 เป็นคำถามที่วัดระดับทัศนคติที่มีต่อการใช้บริการรถไฟฟ้า เป็นการวัดแบบ Likert Scale โดยแบ่งระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างมาก เห็นด้วย เฉยๆ หรือปานกลาง ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างมาก ส่วนที่ 3 เป็นคำถามที่วัดระดับความสำคัญของปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการใช้บริการ ใช้การวัดแบบ Likert Scale แบ่งระดับความสำคัญออกเป็น สำคัญมากที่สุด สำคัญมาก สำคัญปานกลาง สำคัญน้อย และสำคัญน้อยที่สุด ส่วนที่ 4 เป็นคำถามด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และข้อเสนอแนะต่อการให้บริการ โดยได้ทำการแจกแบบสอบถามทั้งหมด 400 ชุด ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามด้วยตนเอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window 11 หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย จากผลการวิเคราะห์ จำแนกเป็น เพศชาย 119 คน เพศหญิง 281 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 70.25 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.75 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 49.25 มีสถานภาพโสด คิดเป็น ร้อยละ 75.75 อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 73.25 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 40.05 ชนิดของพาหะที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้มีหลายชนิดที่มีคะแนนมากที่สุด คือ รถประจำทางคิดเป็นร้อยละ 20.80 รองลงมาคือ รถประจำทางปรับอากาศ คิดเป็นร้อยละ 14.70 รถไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 13.30 รถแท็กซี่ คิดเป็นร้อยละ 13.20 และพาหนะอื่นตามลำดับด้านทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างต่อการให้บริการของรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเห็นด้วยอย่างมาก ด้านการเพิ่มขยายโครงการ มีทัศนคติเห็นด้วย ในด้านความสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้กำหนดเวลาในการเดินทางได้ เจ้าหน้าที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ สภาพแวดล้อมในสถานทีเหมาะสม รถไฟฟ้าช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ ช่วยหลีกเลี่ยงมลพิษได้ มีความเชื่อมั่นในระบบการให้บริการทั้งด้านความปลอดภัยและความชำนาญ ได้รับความพอใจเมื่อมาใช้บริการ และมีความคิดเห็นปานกลาง ต่อด้านความเหมาะสมของเส้นทาง ราคาค่าบริการเหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอส่วนด้านปัจจัยต่างๆ ของรถไฟฟ้า ที่มีผลต่อกลุ่มตัวอย่าง ในการเลือกใช้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ปัจจัยในด้านความตรงเวลาของขบวนรถไฟฟ้า มีความสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ด้านการมีตั๋วให้เลือกซื้อได้หลายรูปแบบ เป็นอันดับสอง ด้านความทันสมัยของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น บันไดเลื่อน ตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ และด้านความสะอาดของสถานีและในตัวรถเป็นอันดับสาม ตามลำดับ |
รายละเอียด: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2751 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Attitude-and-Behavior-of-Consumers-with-the-Service.pdf Restricted Access | 11.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น