กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2758
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการบุคลากรระดับอาชีวศึกษาภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Need of Labor in Vocational Education Degree after ASEAN Economic Community in 2015 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี Benjertsak Sannhapuckdee ณัฐพงษ์ อิ่มสมัย Nattapong Imsamai Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | ประชาคมอาเซียน ASEAN Community กำลังคนระดับอาชีวศึกษา อุปสงค์แรงงาน Labor demand พยากรณ์การจ้างงาน Employment forecasting |
วันที่เผยแพร่: | 2014 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการบุคลากรทางด้านอาชีวศึกษาภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีความต้องการจำนวนมากกว่าปริมาณผู้ที่จบการศึกษาสายอาชีวะที่จะมารองรับความต้องการของตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จึงได้ทำการศึกษาถึงความต้องการของแรงงานสายอาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงานว่าเพราะเหตุใดจึงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาโดยทำการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เอกสารจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการแรงงานสายอาชีพ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการทำศึกษาในครั้งนี้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การศึกษาในครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี โดยทำการเก็บข้อมูลจากสถิติในปี 2546-2555 โดยการนำข้อมูลที่ได้มาทำการทดสอบความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรโดยใช้วิธี Test of Normality เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่และได้หาข้อมูลทางสถิติโดยใช้การคำนวณแบบถดถอย (Regression Analysis Enter) เพื่อคำนวณหาผลทางสถิติในการคำนวณหาค่าการพยากรณ์ด้วยวิธีการพิจารณาค่าเฉลี่ยของร้อยละ ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ของตัวแปร (Mean Absolute Percentage Error – MAPE) ที่มีค่าต่ำสุดในรูปแบบของ Regression และ Weight Average เพื่อทดสอบความสามารถในการพยากรณ์ของแบบจำลอง เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดโดยการพยากรณ์ครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความต้องการแรงงานในอนาคต |
รายละเอียด: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2758 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Need-of-Labor-in-Vocational-Education-Degree.pdf Restricted Access | 8.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น