กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2872
ชื่อเรื่อง: ความเป็นพิษของสารสกัดข่าต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cytotoxicity of Alpinia galanga Extract on K562 Cell Line
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณา เสมศรี
วิชาญ จันทร์วิทยานุชิต
อิสยา จันทร์วิทยานุชิต
สมหญิง งามอุรุเลิศ
กาญจนา วิจิตรธรรมรส
Jonathan Rante Carreon
Suwanna Semsri
Wicharn Janwitayanuchit
Issaya Janwittayanuchit
Somying Ngamurulert
Kanjana Vichittummaros
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology
Huachiew Medicine Clinic
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
คำสำคัญ: ความเป็นพิษ
Toxicology
ข่า (พืช)
Languas galanga
สารสกัดจากพืช
Plant extracts
การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย
Solvent extraction
เอทานอล
Ethanol
เอทิลอะซิเตท
Ethyl acetate
เม็ดเลือดขาว
Leucocytes
วันที่เผยแพร่: 2023
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดข่าส่วนเหนือดิน และเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำละลายชนิดเอทานอล และเอทิลอะซิเตท ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562 ด้วยวิธี MTT พบว่าสารสกัดข่าส่วนเหนือดินและเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำลายชนิดเอทิลอะซิเตท มีความเป็นพิษ (IC50) ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562 (36.2 ± 4.5 และ 5.8 ± 0.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) มีความเป็นพิษ (IC50) ต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดเพาะเลี้ยงชนิด K562 ได้ดีกว่าสกัดข่าส่วนเหนือดินและเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำลายชนิดเอทานอล (229.1 ± 9.5 และ 69.6 ± 8.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสารสกัดข่าส่วนเหง้า ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิด K562 ได้ดีกว่าสารสกัดข่าส่วนเอทานอล เท่ากับ 12 เท่า ดังนั้นจากผลการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดว่าสารสกัดข่าส่วนเหง้าที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท สามารถออกฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยง K562 ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับตัวทำละลายเอทานอล
The purpose of this research was to study the cytotoxicity of the extracts of Alpinia galanga’s aboveground and rhizomes. The samples were extracted using ethanol and ethyl acetate which were then tested on the K562 cell line by the MTT method. The results showed that for both the aboveground and rhizomes, of Alpinia galanga, the ethyl acetate extract had a higher cytotoxicity (IC50) on the K562 cell line (36.2 ± 4.5 and 5.8 ± 0.5 μg/mL, respectively) than aboveground and rhizomes ethanol extraction (229.1 ± 9.5 and 69.6 ± 8.5 μg/mL, respectively) (p<0.05). Moreover, the rhizome Alpinia galanga ethyl acetate extract showed that it was 12 times more toxic on the K562 cell line than the ethanol extract. Finally, these results showed that for Alpinia galanga rhizomes ethyl acetate displayed the most effective cytotoxic effect on the K562 cell line when compare with ethanol extraction.
รายละเอียด: Proceedings of the 10th National and International Conference on "Research to Serve Society", 29 June 2023 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. (e-Conference on Zoom) p. 62-69.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2872
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Medical Technology - Proceeding Document

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cytotoxicityof-Alpinia-galanga.pdf619.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น