กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3116
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในงานและแนวโน้มที่จะลาออกจากองค์กรของพนักงานประจำ : กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationships between Personal Factors, Job Satisfaction and Turnover Tendency of Permanent Employees : A Case Study of Home Appliance Product Manufacturer in Rayong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธันวดี จินดา
Thanwadee Chinda
ทาวิณี ประยูรชาญ
Tawinee Prayoonchan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: ความพอใจในการทำงาน
Job satisfaction
ลูกจ้าง -- การลาออก
Employees -- Resignation
ความผูกพันต่อองค์การ
Organizational commitment
วันที่เผยแพร่: 2008
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการด้วยกัน ประการแรก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแนวโน้มการลาออกจากองค์กรของพนักงานประจำ ประการที่สอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานและแนวโน้มการลาออกจากองค์กรของพนักงงานประจำ ประการที่สาม เพื่อศึกษาแน้วโน้มของการลาออกจากบริษัทของพนักงานประจำบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง กรอบในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ระดับการศึกษา อายุงาน/ประสบการณ์ รายได้/ค่าตอบแทน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในบริษัทจนถึงปัจจุบัน และปัจจัยด้านความพึงพอใจในงาน ได้แก่ ด้านตัวงาน หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ความก้าวหน้า ความมั่นคง รายได้ และสวัสดิการ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ พนักงงานประจำ จำนวนทั้งสิ้น 120 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 120 คน หรือคิดเป็น 100% สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (One-way Analysis of Variance หรือ One-way ANOVA) ณ ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.5 จากผลการศึกษาวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. พนักงานประจำส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในงานในภาพรวมในระดับสูงและมีความคิดเห็นว่า เห็นด้วยต่อแนวโน้มที่จะลาออกจากองค์กร 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้/ค่าตอบแทน มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มที่พนักงงานประจำจะลาออกจากองค์กร ส่วนปัจจัยด้าน เพศ อายุ ภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ระดับการศึกษาอายุงาน/ประสบการณ์ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มที่พนักงานประจำจะลาออกจากองค์กร 3. ปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานด้านตัวงาน มีความสัมพันธ์กับแน้วโน้มที่พนักงานประจำจะลาออกจากองค์กร ส่วนปัจจัยด้านหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ความก้าวหน้า ความมั่นคงและสวัสดิการ ไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มที่พนักงานประจำจะลาออกจากองค์กร
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3116
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
The-Relationships-between-Personal-Factors.pdf
  Restricted Access
10.81 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น