กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3232
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อสินค้ามีตราสัญลักษณ์ของนักศึกษาหญิงและผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Brand-Name Consumed Behavior of Female Students and Working Women in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya
ธนพร ทัดไธสง
Thanaporn Thatthaisong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
การซื้อสินค้า
Shopping
สินค้าแบรนด์เนม
Brand name products
ผู้บริโภคสตรี
Women consumers
วันที่เผยแพร่: 2003
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าโดยยึดตราสัญลักษณ์ 2. ศึกษาปัจจัยด้านจิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าโดยยึดตราสัญลักษณ์ โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาหญิงและผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 390 คนผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการซื้อสินค้าโดยยึดตราสัญลักษณ์1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าโดยยึดตราสัญลักษณ์ของนักศึกษาหญิงและผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับประโยชน์ใช้สอยมากกว่า รองลงมาการเลือกซื้อ เพราะสร้างเสริมบุคลิกภาพความน่านับถือ และเหตุผลที่เลือกซื้อน้อยที่สุด คือ เพิ่มชนชั้นให้ตนเอง2. ปัจจัยชีวสังคมที่มีผล ได้แก่ อาชีพธุรกิจส่วนตัวเลือกซื้อสินค้าด้วยเหตุผลเพราะประโยชน์ใช้สอย กลุ่มอาชีพรับราชการซื้อด้วยเหตุผลเพราะสร้างเสริมบุคลิกภาคความน่านับถือและกลุ่มบริษัทเอกชน เลือกซื้อสินค้าด้วยเหตุผลเพื่อเพิ่มคุณค่าในตนเอง3. ปัจจัยด้านจิตใจที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยยึดตราสัญลักษณ์ของนักศึกษาหญิงและผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร คือ ทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าที่มีตราและด้านความรู้สึกต่อการใช้สินค้ามีตราสัญลักษณ์ 4. ปัจจัยด้านสังคมที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยยึดตราสัญลักษณ์ของนักศึกษาหญิงและผู้หญิงทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร คือ ค่านิยมทางสังคม ทั้งแบบดั้งเดิม และสมัยใหม่ ส่วนปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การเห็นแบบอย่างการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าจากการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐ ควรส่งเสริม เพิ่มคุณค่าสินค้าไทยให้อยู่ในระดับสามารถแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศ หรือให้มีตราสัญลักษณ์ และควรรณรงค์ให้คนไทยหันมาใช้สินค้าไทย และปลูกฝังค่านิยมทางสังคมไทยในยุคที่มีการต่อต้านลัทธิ์บริโภคนิยม เช่น ปลูกฝังค่านิยมความมัธยัสถ์ การใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และทางสถาบันการศึกษาควรเพิ่มการเรียนการสอนด้านจริยธรรม การใช้ของอย่างประหยัดและครอบครัว ควรมีหน้าที่อบรม ขัดเกลา ห้ามปรามไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมเน้นการบริโภคนิยม
รายละเอียด: สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3232
ISBN: 9747145405
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Brand-Name-Consumed-Behavior.pdf
  Restricted Access
11.56 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น