กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3312
ชื่อเรื่อง: การรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ : ศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Commercials and Service Labour's Perception on Labour Rights according to Labour Laws
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
นพมณี นาคคง
Nopmanee Narkkong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
คำสำคัญ: กฎหมายแรงงาน
Labor laws and legislation
การรับรู้
Perception
สิทธิลูกจ้าง
Employee rights
ลูกจ้าง
Labour
การคุ้มครองแรงงาน
Labor -- Employee protection
วันที่เผยแพร่: 1997
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างพาณิชยกรรมและภาคบริการของลูกจ้างเอกชน ผู้ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกจ้างของกิจการ ห้างร้านในกรุงเทพมหานคร เขตชั้นนอก ชั้นกลาง และ เขตชั้นใน จำนวน 245 คน ใช้วิธีการสำรวจการรับรู้จากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิตามกฎหมาย 6 ฉบับ โอกาสและช่องทางในการรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงาน ได้รับแบบสอบถามสมบูรณ์กลับคืนมา 245 ฉบับ จาก 300 ฉบับ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อการศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1. มีการรับรู้แตกต่างกันไปตามข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ 6 ฉบับ คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีการรับรู้ค่าเฉลี่ยเพียง 12 ข้อ จาก 23 ข้อ กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ มีการรับรู้เฉลี่ย 0.77 ข้อ จาก 1 ข้อ พระราชบัญญัติประกันสังคม มีการรับรู้เฉลี่ย 2.19 ข้อ จาก 5 ข้อ พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน มีการรับรู้เฉลี่ย 2.15 ข้อ จาก 4 ข้อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มีการรับรู้เฉลี่ยเพียง 0.53 ข้อ จาก 1 ข้อ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีการรับรู้เฉลี่ย 0.71 ข้อ จาก 1 ข้อ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้สิทธิตามกฎหมายของลูกจ้างในภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ พบว่า เพศ รายได้ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สิทธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยด้านการรับข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างอาศัยการดูโทรทัศน์เป็นตัวกลางในการรับข้อมูล ทั้งข่าวสารทั่วไปและข่าวสารด้านกฎหมายแรงงาน แต่มิได้มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้สิทธิเลย สื่อที่มีประสิทธิผลในการรับรู้กฎหมายแรงงานของลูกจ้างสูงสุด คือ หนังสือกฎหมายแรงงาน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้ ในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศและโอกาสทางการศึกษา ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม ทัศนคติ ต่อแรงงานหญิง โดยเริ่มจากการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันในสถานศึกษา ควรเพิ่มหลักสูตรกฎหมายแรงงานเบื้องต้นสำหรับลูกจ้าง ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ส่วนในเรื่องช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือสร้างความรู้ความเข้าในเรื่องกฎหมายแรงงานนั้น ควรเป็นหน้าที่ของสื่อบุคคล ควบคู่ไปกับสื่อมวลชน โดยสื่อบุคคล ที่มีความสำคัญต่อแรงงาน คือ นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลที่มีอำนาจและถือกฎระเบียบของสถานประกอบการอยู่ แรงงานจะให้ความเชื่่อฟังมากกว่าสื่อบุคคลอื่นๆ ส่วนสื่อมวลชน ควรใช้ความนิยมและความกว้างขวางของเป้าหมายให้เกิดประโยชน์ โดยการสร้างสรรค์รายการที่มีสาระทางด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน มากกว่าเน้นหนักนำเสนอ แต่รายการภาคบันเทิงเพียงอย่างเดียว
รายละเอียด: ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2540
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3312
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Commercials-and-Service-Labour.pdf
  Restricted Access
14.06 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น