กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3630
ชื่อเรื่อง: | การลดต้นทุนการผลิตและของเสียของบริษัท เอ ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Reducing Production Cost and Wastes of the A Food (Thailand) Co., Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ราวดี สุริสระพันธ์ุ Rawadee Surisrapun นุชรีย์ บูรณะชัชวาลย์ Nucharee Buranachatchawan Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | ต้นทุนทางอุตสาหกรรม Costs, Industrial ต้นทุนการผลิต Cost การควบคุมความสูญเปล่า Loss control อาหารแช่แข็ง Frozen foods การบริหารงานผลิต Production management การควบคุมคุณภาพ Quality control บริษัท เอ ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด A Food (Thailand) Co., Ltd. |
วันที่เผยแพร่: | 2001 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | ในการแข่งขันทางธุรกิจ สินค้าที่มีคุณภาพ และมีต้นทุนต่ำ จัดว่าเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญ กลยุทธ์ของการบริหารต้นทุนและคุณภาพของสินค้าให้มีประสิทธิภาพจึงจะสามารถสร้างกำไรและขยายตลดขององค์การได้อย่างต่อเนื่องของเสียที่เกิดจากการผลิตเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น การควบคุมของเสียที่เกิดขึ้น ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะลดต้นทุนการผลิต และลดความสูญเสียอันเปล่าประโยชน์ขององค์การ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพของสินค้าควบคู่กันไปด้วยการศึกษาเรื่องการลดต้นทุนและของเสียของบริษัท เอ ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย 4 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยที่แท้จริงที่ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 2. เพื่อศึกษาถึงวิธีการควบคุมคุณภาพของการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการรับวัตถุดิบจนถึงขั้นตอนการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป 3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนของของเสียหรือสินค้าด้อยคุณภาพที่ร้องเรียนและส่งคืนโดยลูกค้า 4. เพื่อศึกษาถึงวิธีการควบคุมคุณภาพของสินค้าจากโรงงานผลิต จนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และปัญหาการเพิ่มขึ้นของของเสียจากการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทฯ ในปี 1999 และสำรวจการปฏิบัติงานของจริงของบริษัทฯ พบว่าสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของต้นทุนมาจากการเพิ่มขึ้นของของเสียอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ คน วัตถุดิบ อุปกรณ์เครื่องจักร และวิธีการ 1. คน พบว่า พนักงานขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ขาดการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำให้พนักงานไม่ระมัดระวังและขาดความตั้งใจในการทำงาน2. วัตถุดิบ พบว่า ยังขาดการตรวจประเมิน และการคัดเลือกผู้ขายอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ได้วัตถุที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่กำหนด และมีอายุการใช้งานต่ำ3. อุปกรณ์และเครื่องจักร พบว่า ขาดการบำรุงรักษา ทำงานไม่เที่ยงตรง พนักงานผู้ใช้ เครื่องจักร พนักงานซ่อมบำรุง และพนักงานล้างเครื่อง เป็นพนักงานาคนละชุดกัน ขาดความเข้าใจที่ตรงกันและไม่มีความรู้ในการถนอมรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ กำหนดการบำรุงรักษาไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้4. วิธีการ พบว่า ขาดการสื่อสารที่ดีในแผนกเดียวกันระหว่างพนักงานในแต่ละกะ การผลิตและต่างแผนก เนื่องจากไม่มีวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนจากสาเหตุที่พบ ได้เสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงในปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัย โดยนำระบบ ISO 9002 มาเป็นแนวทางในการจัดการฝึกอบรมพนักงาน การประเมินและคัดเลือกผู้ขาย การบำรุงรักษาเครื่องจักร และการจัดทำวิธีปฏิบัติงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พบว่าสามารถช่วยลดของเสียในปี 2543 ได้ถึงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2542 อย่างไรก็ตามผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การ ควรจะได้นำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ และอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น วางแผนการผลิต การพยากรณ์ปริมาณวัตถุดิบ การลดต้นทุนด้านทรัพยากรต่างๆ ต่อไปเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ |
รายละเอียด: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม. ) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3630 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Reducing-Production-Cost-and-Wastes.pdf Restricted Access | 8.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น