กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3651
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและดัชนีราคาผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of the Relationship between Interest Rate and Consumer Price Index on Real Estate Business
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรรณราย แสงวิเชียร
Pannarai Saengwichian
ประพล ฟอร์ตี้
Praphon Forty
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Real estate business
ดอกเบี้ย
Interest
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
Mortgage loans
ดัชนีราคาผู้บริโภค
Consumer price indexes
วันที่เผยแพร่: 2005
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีบทบาท และความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศทั้งภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และภาคการเงิน โดยมีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในระบบหลายแสนล้านบาท สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตของตลาดที่อยู่อาศัย คือ การขาดข้อมูลที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบและมีคว่ามน่าเชื่อถือ ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณและขาดดัชนีเตือนภัยทางเศรษฐกิจที่ถูกต้องและทันกาล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาว่ามีตัวแปรใดบ้าง ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัด ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะสามารถใช้บ่งบอกถึงอนาคตของธุรกิจได้ วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของตลาดที่อยู่อาศัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มของการปรับตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในอนาคต ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดัชนีราคาผู้บริโภค และปริมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์ความต้องการที่อยู่อาศัย และเพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงปริมาณ การศึกษาจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิ รายเดือนที่เป็นข้อมูลอนุกรมเวลา ในอดีต ช่วงระหว่างปี 2538-2546 รวม 102 เดือน โดยการศึกษาจะใช้แบบจำลอง Multiple Regression Equationจากผลการศึกษา สรุปได้ว่า อัตราดอกเบี้ย MLR จะมีความสัมพันธ์กับประมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัยทิศทางตรงกันข้ามในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจแต่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ และดัชนีราคาผู้บริโภคบ้านและอุปกรณ์ตกแต่ง จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทิศทางเดียวกันในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ แต่จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันช้ามในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถอธิบยได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจเป็นเหตุการณ์ไม่ปรกติ ส่งผลต่อปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์ และผลการวิเคราะห์ไม่สอดคล้องต่อความเป็นจริง
รายละเอียด: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3651
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Study-of-the-Relationship-between-Interest-Rate.pdf
  Restricted Access
8.07 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น