กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3659
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้โครงการก๊าซชีวภาพแบบ Covered-Lagoon ของฟาร์มสุกรไร่สามในเครือเจริญโภคภัณฑ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Feasibility Study of Covered-Lagoon Type Biogas Project of Rai Sam Farm (C.P. Group)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรนีย์ สุรเศรษฐ
Jiranee Suraseth
ประวิทย์ สุแก้ว
Prawit Sukaew
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: การศึกษาความเป็นไปได้
Feasibility studies
ก๊าซชีวภาพ
Biogas
ฟาร์มสุกร
Swine farms
บริษัท กรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด
วันที่เผยแพร่: 2003
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาความเป็นไปได้โครงการก๊าซชีวภาพ จากน้ำทิ้งในกิจการฟาร์มสุกรไร่สาม ซึ่งเป็นฟาร์มสุกรในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญ และหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเพื่อการลงทุนในโครงการก๊าซชีวภาพรวมไปถึงเพื่อเป็นการส่งเสริมการนำมูลสุกรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้หลักทฤษฎีทางการตลาด เช่น การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์คู่แข่งขัน ฯลฯ และทฤษฎีการเงิน เช่น การทำงบการเงิน การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV ; Net Present Value) การวิเคราะห์ IRR (Internal Rate of Return) และการหาระยะเวลาคืนทุน (Discount Payback Period) ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม โดยผลตอบแทนจากโครงการก๊าซชีวภาพนี้ จะต่างจากโครงการธุรกิจโดยทั่วไป กล่าวคือ ให้ผลตอบแทนในรูปของค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อไปและในรูปของการประหยัดต้นทุนด้านโอกาสอันเนื่องมาจากการดำเนินงานตามโครงการนี้ ซึ่งเป็นผลตอบแทนทางอ้อม ในขณะที่โครงการธุรกิจโดยทั่วไปนั้น จะให้ผลตอบแทนทางตรง และในภาคนิพนธ์นี้จำกัดขอบเขตในการศึกษา และพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนในรูปของค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อปีเท่านั้น ซึ่งทำให้ผลการวิเคราะห์ทางการเงิน อาจมีความแตกต่างไปจากการวิเคราะห์ที่พิจารณาผลตอบแทนโดยครอบคลุมทั้งหมด อย่างไรก็ตามจากผลการวิเคราะห์ตามขอบเขตดังกล่าว ก็ให้ผลลัพธ์ที่เพียงพอต่อการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ ดังนี้ผลการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ได้ค่า เท่ากับ 2,467,330 บาท แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้สามารถยอมรับได้ ผลการคำนวณค่า IRR (Internal Rate of Return) ได้ เท่ากับ 25.97 เปอร์เซนต์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนของเงินทุน ในที่นี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงิน (Kd) ซึ่งมีอัตราก่อนภาษี เท่ากับ 13% ต่อปี หรืออัตราหลังภาษี (40%) เท่ากับ 8% สรุปได้ว่าโครงการนี้มีความสามารถในการทำกำไร ในรูปของค่าไฟฟ้าที่สามารถประหยัดได้ผลการวิเคราะห์หาระยะเวลาคืนทุน (Discount Payback Period) เท่ากับ 3 ปี 1 เดือน ซึ่งเร็วกว่าระยะเวลาของโครงการ คือ 5 ปี แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้สามารถยอมรับได้จากผลการวิเคราะห์ทั้ง 3 กรณี สรุปได้ว่าโครงการนี้มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ ที่เจ้าของโครงการจะลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ต่อไป
รายละเอียด: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) --มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3659
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
The-Feasibility-Study-of-Covered-Lagoon-Type-Biogas-Project.pdf
  Restricted Access
9.8 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น