กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3748
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของจิตลักษณะกับจริยธรรมในการทำงานตามกรอบจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship of Mental Characteristics and Work Ethics of Social Workers in Bangkok and It's Peripheral
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya
พงศ์อินทร์ ทิชินพงศ์
Pong-In Thichinpong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
คำสำคัญ: จรรยาบรรณนักสังคมสงเคราะห์
Social workers ethics
จรรยาบรรณ
Professional ethics
จริยธรรมในการทำงาน
Work ethic
การควบคุมตนเอง
Self-control
วันที่เผยแพร่: 2003
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) ศึกษาถึงความแตกต่างของจิตลักษณะของนักสังคมสงเคราะห์ เมื่อจำแนะออกตามตัวแปรต่างๆ และ (3) ศึกษาถึงปัจจัย ลักษณะทางจิต ที่มีความสัมพันธ์กับจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 26-35 ปี อายุงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-5 ปี มีสถานภาพสมรสโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้อยู่ระหว่าง 6,001-8,000 บาทกลุ่มตัวอย่างมีการควบคุมตนเองในระดับค่อนข้างสูง และมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในระดับการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยพบว่า เพศหญิงมีการควบคุมตนเองสูงกว่าเพศชายและผู้มีระดับการศึกษาสูงมีการควบคุมตนเองในระดับสูงกว่าผู้มีการศึกษาในระดับต่ำ และลักษณะทางจิตทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณนักสังคมสงเคราะห์ในระดับปานกลาง ถึงปานกลางค่อนข้างสูง โดยจรรยาบรรณด้านคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การเคาพรสิทธิของผู้รับบริการ ความรับผิดชอบการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ และการประพฤติตามกรอบวิชาชีพตามลำดับโดยความรับผิดชอบ คุณธรรม และการเคารพสิทธิของผู้รับบริการ เป็นจรรยาบรรณซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณานักสังคมสงเคราะห์พบว่า - ปัจจัยด้านลักษณะทางจิต อันได้แก่ การควบคุมตนเอง มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ 4 ด้านได้แก่ ความรับผิดชอบ คุณธรรม การเคารพสิทธิของผู้รับบริการ และการประพฤติตามกรอบวิชาชีพ - รายได้ (น้อย) มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบ - อายุ (มาก) มีอิทธิพลต่อคุณธรรม - อายุงาน (มาก) และเพศ (หญิง) มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกรอบวิชาชีพจากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ทั้งระดับนโยบายและระดับหน่วยงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริมหรือเสริมสร้างจิตลักษณะด้านการควบคุมตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานาทางจิตใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่การมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป
รายละเอียด: สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3748
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
The-Relationship-of-Mental-Characteristics-and-Work-Ethics.pdf
  Restricted Access
12.17 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น