กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3811
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการรับคนพิการเข้าทำงาน : ศึกษากรณีสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Satisfaction in Hiring the Disabled Persons : A Case of the Enterprises in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
Jaturong Boonyarattanasoontorn
เพ็ญศรี ฟุ้งยอดคีรี
Pensri Fungyodkiree
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
คำสำคัญ: สิทธิคนพิการ
สิทธิมนุษยชน
Human rights
คนพิการ
People with disabilities
คนพิการ -- การจ้างงาน
People with disabilities -- Employment
คนพิการ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
People with disabilities -- Rehabilitation
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
Vocational rehabilitation
สถานประกอบการ
ความพอใจ
Satisfaction
วันที่เผยแพร่: 2002
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจปัญหาและอุปสรรค์ต่อการรับคนพิการเข้าทำงานของสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการรับคนพิการเข้าทำงานศึกษาปัญหาและอุปสรรคและแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคของสถานประกอบการในการรับคนพิการเข้าทำงานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครเฉพาะที่รับผู้พิการเข้าทำงาน จำนวน 200แห่ง ผลการศึกษา พบว่า สถานประกอบการที่มีจำนวนมากที่สุด มี 2 ประเภท คือโรงแรมหรือห้องเช่า และสิ่งทอจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 200-500 คนจำนวนผู้พิการที่สถานประกอบการรับเข้าทำงานมากที่สุด คือ 2 คนประเภทความพิการส่วนใหญ่ที่สถานประกอบการรับเข้าทำงาน คือประเภททางกายหรือการเคลื่อนไหวตำแหน่งหรือหน้าที่ของคนพิการที่ได้รับมอบหมาย คือ ตำแหน่งธุรการเหตุผลที่สถานประกอบการรับคนเข้าทำงานมากที่สุด คือเชื่อว่าคนพิการมีความรู้ความสามารถเท่าเที่ยมคนปกติความพึงพอใจต่อการรับคนพิการเข้าทำงานในภาพรวมแล้วสถานประกอบการมีความพึงพอใจในการทำงานของคนพิการในระดับปานกลางเมื่อทำการศึกษารายละเอียดทั้ง 7 ด้าน พบว่าสถานประกอบการมีความพึงพอใจในการทำงานของคนพิการที่ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วคนพิการที่ผ่านการฝึกอาชีพมาแล้วจะมีความสามารถพิเศษกว่าคนพิการที่ไม่ได้รับการฝึกอาชีพคนพิการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานในแผนกที่สังกัดคนพิการที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพคนพิการเชื่อฟังคำแนะนำเกี่ยวกับงานจากนายจ้างและเพื่อนร่วมงานและคนพิการมีความสุภาพอ่อนน้อมต่อนายจ้างปัญหาและอุปสรรคในการรับคนพิการเข้าทำงานของสถานประกอบการส่วนใหญ่ คือไม่มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เช่น ไม่มีทางลาด หรือห้องน้ำสำหรับคนพิการ นอกจากกนี้ ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ด้วยกัน เช่นความจำกัดของงาาน ประเภทความพิการ ทักษะ หรือความรู้ในด้านต่าง ๆเกี่ยวกับการทำงานความต้องการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการที่เข้ามาทำงานของสถานประกอบการส่วนใหญ่คือ มีความต้องการทั้งด้านการปรับปรุงทางลาดให้ผู้พิการที่ใช้รถเข็นนั่งสร้างห้องน้ำสำหรับคนพิการ และสร้างทางเดินเท้าให้คนตาบอดส่วนสถานประกอบการที่ไม่ต้องการปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานประกอบการเนื่องจากคนพิการที่รับเข้าทำงานไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพราะคนพิการสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และทำกิจกรรมต่างๆ ได้เหมือนเช่นคนปกติทั่วไป ซึ่งพนักงานที่เป็นคนพิการส่วนมากจะมีความพิการน้อยแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่ในการรับคนพิการเข้าทำงาน คือสถานประกอบการควรบรรจุคนพิการในตำแหน่งที่เหมาะสมกับคนพิการและแนวทางประการสำคัญ คือ การเน้นทางด้านการศึกษาเพื่อให้คนพิการนำความรู้ความสามารถไปใช้ในการทำงานได้เช่นเดียวกับคนปกติข้อเสนอแนะของผู้วิจัยสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ การจ้างงานคนพิการหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับคนพิการควรให้ความรู้หรือคำปรึกษาแก่บริษัทหรือสถานประกอบการให้ยอมรับในศักยภาพของคนพิการในการทำงานและเพื่อให้สถานประกอบการเปิดโอกาสให้คนพิการได้ทำงานมากขึ้นรัฐควรจะมีมาตรการที่จูงใจสำหรับสถานประกอบการโดยให้อัตราในการลดหย่อนภาษีเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ ภาครัฐควรส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของคนพิการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียนเพื่อให้คนพิการมีโอกาสได้เรียนมากขึ้น
รายละเอียด: สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3811
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Satisfaction-in-Hiring-the-Disabled-Persons.pdf
  Restricted Access
20.8 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น