กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3850
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านการประกันสังคมของโรงพยาบาลรัทรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Service Marketing Strategies Development for Increasing Social Insurance Efficiency of Rattarin Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พวงชมพู โจนส์
Puangchompoo Jones
พิมพ์อักษร อู่ทรัพย์
Pimaugson Aoosup
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: ประกันสังคม
Social security
ผู้ประกันตน
โรงพยาบาลรัทรินทร์ – การตลาด
Rattarin Hospital – Marketing
ประกันสุขภาพ
Health insurance
สำนักงานประกันสังคม
Social Security Office
บริการทางการแพทย์
Medical care
การเข้าถึงบริการสุขภาพ
Health services accessibility
วันที่เผยแพร่: 2009
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านการประกันสังคมของโรงพยาบาลรัทรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการประกันสังคมของผู้ประกันตน 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการกลับมาใช้บริการประกันสังคมของผู้ประกันตนการศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกันตนที่มารับบริการผู้ป่วยประกันสังคมของโรงพยาบาลรัทรินทร์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม 2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Chi-Square Testผลการศึกษา พบว่า1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ประกันตน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.2) มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 46.2) สถานภาพโสด (ร้อยละ 48.2) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากที่สุด (ร้อยละ 30.8) ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 81.9) มีเงินเดือนระหว่าง 10,000-15,000 บาท (ร้อยละ 37.9)2. ผู้ประกันตนเลือกใช้บริการประกันสังคมของโรงพยาบาลรัทรินทร์ เพราะใกล้บ้าน (ร้อยละ 66.5) ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บป่วยทั่วไป (ร้อยละ 93.5) เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลน้อยกว่า 3 ครั้ง/ปี และผู้ประกันตนจะตัดสินใจเลือกโรงพยาบาลประกันสังคมด้วยตนเอง (ร้อยละ 81.5)3. ความคิดเห็นในการใช้บริการประกันสังคมของโรงพยาบาลรัทรินทร์ ด้านการบริการของแพทย์ ผู้ประกันตนมีความเห็นด้วยในระดับมากกับการที่แพทย์มีความรู้ความชำนาญให้คำแนะนำโรคเป็นอย่างดี และความสุภาพ/อัธยาศัยที่ดีของแพทย์ ด้านการบริการของพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ประกันตนมีความเห็นด้วยในระดับปานกลางกับการบริการของพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาล ด้านการบริการของเภสัชกร ผู้ประกันตนมีความเห็นด้วยในระดับมากกับการให้คำแนะนำจากเภสัชกรและความสุภาพของเภสัชกร ด้านกระบวนการให้บริการผู้ประกับตนมีความเห็นด้วยในระดับปานกลางกับกระบวนการบริการของโรงพยาบาล ด้านความสะอาดของสถานที่ ผู้ประกันตนมีความเห็นด้วยในระดับปานกลางกับความสะอาดของห้องน้ำ และบริเวณโดยรอบโรงพยาบาล และมีความเห็นด้วยในระดับมากกับการบริการโดยรวมของโรงพยาบาลรัทรินทร์4. แนวโน้มการกลับมาใช้บริการของโรงพยาบาล ผู้ประกันตนจะกลับมาใช้บริการประกันสังคมของโรงพยาบาลแน่นอน (ร้อยละ 80.5) และไม่กลับมาใช้บริการ (ร้อยละ 19.5) เหตุผลที่ไม่กลับมาใช้บริการเพราะ การบริการไม่ดี และไม่มีแพทย์เฉพาะทาง (ร้อยละ 51.3) และสถานที่คับแคบ (ร้อยละ 42.3)ข้อเสนอแนะ ทางโรงพยาบาลต้องเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทาง และควรฝึกอบรมบุคลากรให้สามารถบริการผู้ป้วยอย่างเต็มที่ เพราะจากการศึกษาผู้ประกันตนที่ไม่กลับมาใช้บริการของโรงพยาบาลรัทรินทร์ เพราทางโรงพยาบาลไม่มีแพทย์เฉพาะทางและการบริการไม่ดี (ร้อยละ 51.3) และควรขยายสถานที่ให้กว้างขึ้นเพื่อที่จะสามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3850
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Service-Marketing-Strategies-Development-for-Increasing-Social-Insurance.pdf
  Restricted Access
23.76 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น