กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3866
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยจังหวัดลำปางก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Comparative Study of Thai Labors' Life Quality in Lampang Province before and after Working in the Foreign Countries |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn พิกุล เจียวท่าไม้ Pikul Jiewthamai Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
คำสำคัญ: | แรงงาน -- ไทย -- ลำปาง Labor – Thailand -- Lampang คุณภาพชีวิต Quality of life แรงงานไทยในต่างประเทศ แรงงานต่างด้าวไทย Foreign workers, Thai นโยบายแรงงาน Labor policy สวัสดิการแรงงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2001 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย จังหวัดลำปาง ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศและเพื่อศึกษาปัญหาในปัจจุบันของแรงงานไทยหลังกลับจากต่างประเทศ ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 450 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สมรสแล้ว อายุเฉลี่ย 37.52 ปี ก่อนไปทำงานต่างประเทศ มีอาชีพรับจ้าง และทำนา และมีภาระที่ต้องรับผิดชอบในครอบครัวเฉลี่ย 3.53 คน ในการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ พบว่า คุณภาพชีวิตทั้ง 7 ด้าน ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศมีระดับใกล้เคียงกันในระดับปานกลางเท่านั้น ผลการศึกาษาปัญหาของผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน พบว่า แรงงานไทยยังคงมีปัญหาเรื่องหนี้สินจำนวนมาก เมื่อเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ยังคงมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ และยังมีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำงานที่มีรายได้น้อย ไม่มั่นคงและต้องเสี่ยงอันตราย และมีรายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายในครอบครัว อันเนื่องมาจากภาระรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าแรงงานส่วนหนึ่งยังไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ ข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย คือ (1) รัฐฯ ควรทบทวนนโยบายและมาตรการค่าง ๆ ในการส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ เพราะผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของแรงงานไทย ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันมาก และ (2) กรมการจัดหางาน ควรมีนโยบายช่วยเหลือด้านตลาดรองรับแรงงานไทย หรือช่วยเหลือแรงงาน กรณีเมื่อกลับมาแล้วประสบปัญหาการว่างงาน หรือการทำงานที่มีรายได้น้อยเกินไป และไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครอบครัว ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ คือ (1) กรมการจัดหางานควรออก กฎ ระเบียบ ว่าด้วยการฝึกอบรม เสริมทักษะ พัฒนา ความสามารถ ความถนัด รวมทั้ง กฎหมายแรงงานของประเทศที่จะไปทำงาน ให้ผู้ใช้แรงงานททุกคนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานไปทำงานอย่างมีคุณภาพและไม่ฝ่าฝืนกฎหมายของประแทศที่ไปทำงาน และ (2) รัฐฯ ควรสร้างจิตสำนึกแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ในการดูแลผู้ใช้แรงงานไทย ที่ประสงค์จะไปทำงานในต่างประเทศอย่างยุติธรรม ไม่รับผลประโยชน์จากบริษัทจัดหางาน ที่เอารัด เอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป คือ (1) ควรมีการศึกษาขั้นตอน วิธีการ ในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการควบคุม ดูแล แรงงานที่เดินทางไปต่างประเทศ (2) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิตของแรงงานไทยในต่างประเทศ และ (3) ควรมีการศึกษา เกี่ยวกับปัญหา ความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ที่กลับจากการทำงานต่างประเทศ |
รายละเอียด: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3866 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
The-Comparative-Study-of-Thai-Labours-Life-Quality.pdf Restricted Access | 8.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น