กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4135
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทํานายภาวะหมดไฟของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานโดยตรงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Predicting Factors of Burnout Among Frontline Nurses During the COVID-19 Pandemic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทนา จินาวงศ์
ปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริ
ประวีณา อนุกูลพิพัฒน์
Chunthana Chinawong
Patoomthip Adunwatanasiri
Praweena Anukulpiphat
Vajira Navamindradhiraj University. Faculty of Medicine
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of nursing
Samutprakan Hospital. Out Patient Department
คำสำคัญ: ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
Burn out (Psychology)
โควิด-19 ‪(โรค)‬
COVID-19 (Disease)
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
COVID-19 Pandemic, 2020-
พยาบาล
Nurses
บุคลากรสาธารณสุข
Public health personnel
วันที่เผยแพร่: 2024
แหล่งอ้างอิง: วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ 28, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2567) : 133-148.‬
บทคัดย่อ: การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019อย่างเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อภาวะหมดไฟของพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตทั้งด้านสภาพร่างกายและจิตใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายภาวะหมดไฟของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานโดยตรงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19ศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจําในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบําบัด คัดกรอง รักษา ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคโควิด 19 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีก้อนหิมะ (Snow ball) ตามเกณฑ์การคัดเข้า จํานวน 195 คน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจํานวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความยืดหยุ่นทางจิตใจ 3) แบบประเมินความเครียด (ST5) 4) การสนับสนุนขององค์กร และ 5) ภาวะหมดไฟ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบสอบถามฉบับที่ 2-5เท่ากับ 0.820, 0.95, 0.90 และ 0.88ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะหมดไฟด้านความสามารถในการทํางานอยู่ในระดับสูงร้อยละ 85.60 ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการเมินเฉยต่องานอยู่ในระดับต่ําร้อยละ 77.40 และ54.90 ตามลําดับ ปัจจัยทํานายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด การสนับสนุนขององค์กรด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ และด้านสภาพการทํางาน สามารถร่วมกันทํานายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ได้ร้อยละ 34.90(Adjusted R2= 0.349) ปัจจัยทํานายภาวะหมดไฟด้านการเมินเฉยต่องาน ได้แก่ ความเครียด และการสนับสนุนขององค์กรด้านสภาพการทํางาน สามารถร่วมกันทํานายภาวะหมดไฟด้านการเมินเฉยต่องานได้ร้อยละ 30.50(R2= 0.305)ปัจจัยทํานายภาวะหมดไฟด้านความสามารถในการทํางาน ได้แก่ การสนับสนุนขององค์กรด้านความมั่นคงในการทํางาน ความยืดหยุ่นทางจิตใจ และการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ตามลําดับ สามารถร่วมกันทํานายภาวะหมดไฟของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานโดยตรงได้ร้อยละ 16.20(R2= 0.162) ดังนั้น องค์กรควรเสริมสร้างพลังใจและจัดกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานภายใต้แรงกดดันเป็นเวลานาน จัดสรรทรัพยากรและจัดสภาพแวดล้อมการทํางานให้ปลอดภัยในการทํางานที่มีความเสี่ยงสูง
The COVID-19pandemic has created a dramatic global disruption and impact of burnout among frontline nurses. Frontline nurses have faced substantial physical and psychological distress during this period. This research aimed to identify the predicting factors of burnout among frontline nurses during the COVID-19 pandemic using a cross-sectional study design. The sample comprised 195 frontline nurses. The participants were recruited through snowball sampling based on predetermined inclusion criteria. The researcher collected data via an electronic online survey distributed through QR code-linked questionnaires. The data collection instrument was a questionnaire consisting of 5 parts: 1) Demographic data, 2)Resilience Quotient, 3) Stress Test (ST5), 4) Perceived Organizational Support, and 5) Maslach Burnout Inventory (BMI) in its Thai version.The reliability coefficients of parts 2-5were 0.82, 0.95, 0.90,and0.88 respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were used for data analysis. The findings showed that 85.6% of frontline nurses experienced a high level of burnout in the dimension of professional efficacy, while emotional exhaustion and cynicism were at lower levels of 77.4% and 54.9%, respectively. Significant predictive factors of burnout in the emotional exhaustion dimension included organizational rewards and job conditions. 34.9% of the variation in burnout within the emotional exhaustion dimension could be attributed to the set of study variables (adjusted R2= 0.349).Significant predictive factors of burnout in the cynicism dimension included stress and job conditions. 30.5% of the variation in burnout within the cynicism dimension could be attributed to the set of study variables (adjusted R2= 0.305).Significant predictive factors of burnout in the professional efficacy dimension included organizational commitment, resilience, and supervisor support, respectively. 16.2% of the variation in burnout within the professional efficacy dimension could be attributed to the set of study variables (adjusted R2= .162). Therefore, organizations should enhance resilience and stress management for nurses under prolonged pressure. They should allocate resources and promote safety in their workplaces, especially in high-risk environments.
รายละเอียด: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/265294/185269
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4135
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nursing - Articles Journals

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Predicting-Factors-of-Burnout-Among-Frontline-Nurses-During-the-COVID-19-Pandemic.pdf97.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น