Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4263
Title: | การปรับตัวที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการของนักสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนพิการ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ |
Other Titles: | Adjustment to Bureaucratic Revolution of Social Workers in Handicap Home Department of Social Development and Welfare |
Authors: | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล Thipaporn Phothithawil รัชนี สัญญะวงศ์ Ruchanee Sunyawong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | นักสังคมสงเคราะห์ Social workers การปฏิรูประบบราชการ -- ไทย Civil service reform -- Thailand การปรับตัว (จิตวิทยา) Adjustment (Psychology) |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการต่อนักสังคมสงเคราะห์ และการปฏิบัติงาน (2) เพื่อศึกษาถึงการสร้างมาตรการจูงใจและความต้องการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานที่มีต่อนักสังคมสงเคราะห์ (3) เพื่อศึกกษาถึงการปรับตัวของนักสังคมสงเคราะห์ที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์คนพิการ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จำนวน 9 คน วิธีที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เลือกใช้การวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการต่อตัวนักสังคมสงเคราะห์และต่องานที่ปฏิบัติ รวมทั้งการปรับตัวของนักสังคมสงเคราะห์ต่อการปฏิรูประบบราชการ ผลการศึกษามีดังนี้ ผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการต่อนักสังคมสงเคราะห์ พบว่า อัตรากำลังนักสังคมสงเคราะห์ เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนบุคลากรมีจำนวนเท่าเดิมไม่เพียงพอต่อสภาพปัญหาและความต้องการ บทบาทหน้าที่ยังไม่มีความชัดเจนทำให้งานยังคงมีความซ้ำซ้อนความรู้นักสังคมสงเคราะห์จะต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทักษะควรมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ มีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในงานและจากประสบการณ์ในการทำงานทัศนคติในการทำงานส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดี เนื่องจากมีความเข้าใจในเนื้องานมากขึ้น ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ คาดว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ เนื่องจากมีการทำงานเข้าถึงประชาชนมากขึ้น ผลงานที่ออกมาเป็นรูปธรรมและสังคมมีการยอมรับในวิชาชีพมากขึ้น ผลกระทบขอการปฏิรูประบบราชการต่อการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ พบว่า เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการทำให้ลักษณะงานและวิธีการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลให้มีปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น คุณภาพของงานที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านเวลา เวลาในการปฏิบัติงานมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้นในกรณีที่มีงานเร่งด่วนหรือมีงานฉุกเฉิน การสร้างมาตรการจูงใจและความต้องการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงาน พบว่า เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการหน่วยงานมีสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรและมีการส่งบุคลากรเข้าร่วมกับอบรม สิ่งที่ต้องการสนับสนุน คือ มีการจัดสวัสดิการให้เพิ่มขึ้น การปรับตัวและวิธีการปรับตัว พบว่า นักสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวให้ทันกับการปฏิรูประบบราชการที่เกิดขึ้น เพราะมีการเตรียมความพร้อมโดยการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และการได้รับการเข้าร่วมการอบรม จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานที่ออกมามีคุณภาพ ยุติธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และเป็นวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม |
Description: | ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4263 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Adjustment-to-Bureaucratic-Revolution-of-Social-Workers-in-Handicap.pdf Restricted Access | 8.47 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.