กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4274
ชื่อเรื่อง: รูปแบบส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแห่งศรัทธาปัญจปูชนียสถาน ของจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Samutprakarn Pentacle - Holy - Destination Tourism Route Development Model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พวงชมพู โจนส์
Puangchompoo Jones
รัตติยา ริมปิรังษี
Rattiya Rimpirungsee
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Heritage tourism
ปูชนียสถาน -- ไทย -- สมุทรปราการ.
การท่องเที่ยว -- ไทย -- สมุทรปราการ.
Travel -- Thailand -- Samut Prakan
การสื่อสารทางการตลาด
Communication in marketing
วันที่เผยแพร่: 2014
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้ ได้ศึกษารูปแบบส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแห่งศรัทธาปัญจปูชนียสถานของจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้รูปแบบการสื่อสารทางการตลาด ที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ทำการสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวแบบต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 58.1 มีอายุในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 43.9 และมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 60.8 โดยส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 49 และประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็น ร้อยละ 63.6 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 59.7 ด้านการรับรู้สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวรู้จักพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ รองลงมา คือ เมืองโบราณ บางปู และวัดอโศการาม ตามลำดับ ด้านรูปแบบการสื่อสารการตลาดที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานที่ มากที่สุด ได้แก่ การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ โดยการบอกต่อจากคนรู้จัก รองลงมา คือ จากการโฆษณาตามป้ายโฆษณารถโมบาย และจากเอกสารประกอบการท่องเที่ยว เช่น โบรชัวร์ ในด้านความสนใจเกี่ยวกับโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบต่อเนื่อง พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจเส้นทางที่ 1 รองลงมา คือ เส้นทางที่ 3 และเส้นทางที่ 2 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากเหตุผลในการเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวแบบต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างสนใจความงดลามทางสถาปัตยกรรมและพุทธศิลปะ รองลงมา คือ เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของจังหวัดสมุทรปราการ และระยะเวลาการท่องเที่ยวที่ทำให้สามารถเที่ยวได้หลายสถานที่ในเวลาจำกัด
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4274
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Samutprakarn-Pentacle-Holy-Destination-Tourism-Route-Development-Model.pdf
  Restricted Access
9.18 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น