Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4275
Title: การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป : กรณีศึกษา บริษัท ฟูลมาร์ค เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
Other Titles: Defect Reduction in Production Process of the Garment Industry : A Case Study of Fullmark Manufacturung Co., Ltd.
Authors: พรไพบูลย์ ปุษปาคม
Pornpaiboon Pushpakom
รัตนา ทองสุก
Ratana Thongsuk
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
Ready-to-wear clothing industry
การควบคุมกระบวนการผลิต
Process control
การควบคุมความสูญเปล่า
Loss control
การลดปริมาณของเสีย
Waste minimization
การควบคุมคุณภาพ
Quality control
การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม
Industrial productivity
บริษัท ฟูลมาร์ค เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
Fullmark Manufacturung Co., Ltd.
Issue Date: 2008
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตของแผนกถักผ้าและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของบริษัทฟูลมารค์ เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เพื่อเป็นแนวทางในการลด จำนวนของเสียที่เกิดขึ้น จากการศึกษาข้อมูลของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตของแผนกถักผ้า โดยได้ทำการเก็บ ข้อมูลย้อนหลัง และใช้แผนภูมิพาเรโตในการแสดงปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละชนิดของ กระบวนการผลิตแล้วนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดของเสียโดยใช้แผนภูมิเหตุและผลพบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่ควรจะดำเนินการแก้ไขเป็นอันดับแรกในแผนกถักผ้า คือ ปัญหางานเปื้อน คราบสกปรก ไม่ว่าจะเกิดจากคราบน้ำมัน คราบสนิม เศษขี้ด้าย หรือฝุ่นละออง ซึ่งไม่สามารถนำ ชิ้นงานที่เปื้อนคราบสกปรกดังกล่าวมาใช้ในกระบวนการผลิตต่อไปได้ ผู้ศึกษาได้นำปัญหามา วิเคราะห์หาสาเหตุย่อย โดยจากการพิจารณาของผู้ศึกษาเอง รวมทั้งขอคำปรึกษาจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในแผนกถักผ้าแล้วนั้น การวิเคราะห์ได้ใช้แผนภูมิเหตุและผล จากการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุที่ ก่อให้เกิดปัญหางานเปื้อนคราบสกปรกมีสาเหตุสำคัญมาจากเครื่องจักรในการทำงาน เนื่องจาก เครื่องจักรต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และเครื่องจักรมีอายุการใช้งานมานานกว่า 25 ปี แต่ขาด การดูแลรักษา ขาดการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องจักรชำรุดสึกหรอและ หมดอายุการใช้งาน ทางผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ (1) การทำ ความสะอาดเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ โดยจัดทำตารางการทำความสะอาดเป็นแนวทางในการ ตรวจสอบกำหนดเวลาในการทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ เช่น การทำความสะอาด ตะกรอของ เครื่องจักรทุกๆ 3 ชั่วโมง ก่อนที่จะเกิดความสกปรก (2) การปรับตั้ง/ปรับแต่งเครื่องจักรเพื่อให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน โดยจัดทำเป็นใบตรวจสอบเครื่องถักผ้าเพื่อเป็นแนวทางให้ พนักงานประจำเครื่องสามารถตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปได้ด้วยตนเอง และ (3) การฟื้นฟูสภาพ โดยการเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักร ซึ่งได้จัดทำเป็นใบบันทึกจำนวนครั้งการแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์เมื่อเกิดของเสียขึ้นเพื่อเป็นแนวทางที่จะสามารถรู้ถึงอายุการใช้งานของชิ้นส่วนอะไหล่ ต่างๆ ก่อนที่จะชำรุดเสียหาย ซึ่งแนวทางแก้ไขที่ได้กล่าวมานั้น คาดว่าจะสามารถช่วยลดของเสีย ที่เกิดขึ้นได้และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: การศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4275
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Defect-Reduction-in-Production-Process-of-the-Garment-Industry.pdf
  Restricted Access
8.44 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.