Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4324
Title: ผลของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน : กรณีศึกษา ผู้เข้าอบรมหลักสูตรครูสมาธิ ณ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 6 วัดบางโฉลงใน ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Effectiveness of Meditation to Working Performance : A Case Study of Willpower Institute, Bangchalongnai Temple, Bangplee, Samutpraharn, Thailand
Authors: วิรัตน์ ทองรอด
Wirat Tongrod
รังสรรค์ ลีเบี้ยว
Rangsan Leebeaw
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การฝึกสมาธิ
การเข้าฌาน – พุทธศาสนา
Meditation – Buddhism
การทำงาน
Work
พฤติกรรมองค์การ
Organizational behavior
สมรรถนะ
Performance
อานาปานสติ
Ānāpānasmr̥ti
Anapanasmrti
Issue Date: 2008
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาประโยชน์ของการฝึกสมาธิต่อการทำงานหรือกิจกรรมของแต่ละ บุคคลในแต่ละวัน โดยศึกษาจากประชาชนทั่วไปที่มาสมัครเข้าอบรมหลักสูตรครูสมาธิ ณ สถาบัน พลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 6 วัดบางโฉลงใน ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จำนวน 46 คน โดยเริ่มอบรมตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 ถึงวันอาทิตย์ที่ 2727 มกราคม 2551 รวมระยะเวลา 6 เดือน ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนอยู่ในช่วงท้ายของการอบรม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่าง วันที่ 12 - 13 มกราคม 2551 ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงร้อยละ 65.2 เพศชายร้อยละ 34.8 อายุเฉลี่ย 40.91+10.31 ปี สถานภาพโสดร้อยละ 50.0 สมรสแล้วร้อยละ 45.7 การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 60.9 รายได้ ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาทร้อยละ 50.0 อาชีพส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง /พนักงานเอกชนร้อยละ 50.0 รองมาประกอบอาชีพอิสระหรือธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 32.6 อายุการทำงานเฉลี่ย 12.18+9.199 ปี ส่วนใหญ่มีตำแหน่งระดับพนักงาน ด้านพฤติกรรมการฝึกสมาธิ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจ ในการฝึกสมาธิก่อนมาอบรมร้อยละ 89.1 เคยฝึกสมาธิมาก่อนตามแนวทางของศาสนาพุทธ ด้วยวิธี นั่งสมาธิและฝึกด้วยตนเอง ความรู้เกี่ยวกับการฝึกสมาธิก่อนมาอบรมระดับน้อยร้อยละ 46.7 ระดับ ปานกลางร้อยละ 33.3 ความถี่ในการเข้าอบรมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 34.8 ความตั้งใจในการ เข้าอบรมอยู่ในระดับมากร้อยละ 43.5 และระดับมากที่สุดร้อยละ 32.6 ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก สมาธิต่อครั้งเฉลี่ย 39.38+22.94 นาที ส่วนใหญ่ฝึกสมาธิก่อนเข้านอนและใช้ห้องนอนเป็นสถานที่ ฝึก ด้านผลของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรวม 48 ปัจจัย แบ่งเป็น 4 ด้านคือ ด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงาน ด้านผลต่อจิตใจในการทำงาน ด้านการแสดงออก พฤติกรรมในที่ทำงาน และด้านประสิทธิภาพการทำงาน ใช้สถิติทดสอบคือ Mcnemartestผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึก สมาธิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงานก่อนการฝึกผล ในระดับสูงมีค่าเท่ากับร้อย 10.9 และหลังการฝึกผลในระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.0 ผลด้าน จิตใจต่อการทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึกสมาธิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผลด้าน จิตใจต่อการทำงานในภาพรวมก่อนฝึกผลในระดับสูงเท่ากับร้อยละ 41.3 และหลังการฝึกเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 91.3ด้านการแสดงออกพฤติกรรมในที่ทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึกสมาธิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยการแสดงออกพฤติกรรมในที่ทำงานในภาพรวมก่อนฝึกผลใน ระดับสูงเท่ากับร้อยละ 41.3 และหลังการฝึกผลในระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 93.5 ด้าน ประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวมก่อนและหลังการฝึกสมาธิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดย ประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวมก่อนการฝึกผลในระดับสูงเท่ากับร้อยละ 41.3 และหลังการฝึก ผลในระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 84.8 ซึ่งทั้งหมดมีค่า p-value< 0.05 อธิบายได้ว่า ภาพรวมในทุกๆด้าน ประสิทธิภาพในการทำงานก่อนฝึกสมาธิแตกต่างจากประสิทธิภาพในการทำงานหลังฝึก สมาธิอย่างมีนัยสำคัญ โดยภาพรวมหลังการฝึกสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 55.45 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการควบคุมอารมณ์ในระหว่างการทำงานในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.1 ผลด้านจิตใจต่อการทำงานในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ด้านการแสดงออก พฤติกรรมในที่ทำงานในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 ด้านประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 โดยผลระดับสูง หมายถึง ผลของแต่ละด้านที่อยู่ในระดับดีและดีมาก สรุปได้ว่า การฝึกสมาธิมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ ละวัน ส่งผลที่ดีต่อใจจิตและพฤติกรรมในที่ทำงาน ช่วยให้การทำงานของแต่และบุคคลมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้สามารถทำงานจนบรรลุเป้าหมาย มีความรอบคอบ การตัดสินใจ ความ อดทน และทำงานเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น มีจิตใจเข้มแข็งกล้าเผชิญกับอุปสรรค์ในการทำงาน ซึ่ง ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร และอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็น เครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและการจัดการในด้านทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรให้พนักงานของตนมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และช่วยเป็นการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมและดูแลสุขภาพจิตให้กับคนในองค์กรของตน อันจะส่งผลให้ประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: การศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4324
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Effectiveness-of-Meditation-to-Working-Performance.pdf
  Restricted Access
9.89 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.