กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/457
ชื่อเรื่อง: ความรู้และทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วงโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge and Attitude towards Lean Manufacturing System of Staff of Company Thai Participate with the Lean Improvement Project in Samutprakarn Province Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิษณุ วรรณกูล
Pitsanu Wannakul
ภาณุทัตต์ หมุดธรรม
Phanuthat Mudthum
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม
Industrial productivity
การผลิตแบบลีน
Lean manufacturing
วันที่เผยแพร่: 2013
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้และระดับทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจันส่วนบุคคลของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคการลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ กับความรู้และทัศนคติ ต่อระบบการผลิตแบบลีน และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีน ของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจาก พนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 153 คน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.20 มีอายุ 25-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.83 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 81.05 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,0001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 41.18 และมีอายุงานในองค์กรปัจจุบัน 3-6 ปี คิดเป็นร้อยละ 63.40 พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตแบบลีน อยู่ในระดับปานกลาง และพนักงานมีทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนภาพรวมค่อนข้างดี พนักงานที่มี อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุงานในองค์กรปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีความรู้และทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่เพศที่แตกต่างกัน มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับระบบการผลิตแบบลีนไม่แตกต่างกัน และความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตแบบลีนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคนิคแบบลีน ในเขตจังหวัดสมุทรปราการในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/457
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
PHANUTHAT.pdf
  Restricted Access
4.89 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น