การศึกษาวิจัยเรื่อง “บทบาททางการเมืองและการมีส่วนร่วมของวิทยุชุมชนในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของวิทยุชุมชน คณะผู้วิจัยได้รวบรวม ข้อมูลโดยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือนายสถานีวิทยุชุมชน/ผู้ดำเนินรายการของวิทยุชุมชน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานการมีส่วนร่วม คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และประชาสัมพันธ์ จังหวัด นอกจากนี้ยังได้ใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ที่รับฟังการกระจาย เสียงของวิทยุชุมชน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้คือ 1) รูปแบบรายการที่สถานีวิทยุชุมชนเสนอเรื่องเลือกตั้ง รูปแบบรายการที่สถานีวิทยุชุมชนเสนอคือ 1) ผู้ดำเนินรายการเป็นผู้นำเสนอเรื่องการ เลือกตั้งเน้นรูปแบบการสนทนา 2) เปิดสปอตรณรงค์เลือกตั้ง 3) เปิดเพลงรณรงค์เกี่ยวกับการ เลือกตั้ง 4) ร่วมถ่ายทอดรายการเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสถานีวิทยุของรัฐ 5) จัดรายการสนทนา เฉพาะกิจที่มีเนื้อหาเรื่องเลือกตั้ง 6) กำหนดให้เรื่องเลือกตั้งเป็น “วาระ” ของสถานี 7) เป็นเวทีให้ ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นในรายการแบบ “Phone in” เป็นช่องทางสอบถามข้อมูลที่ไม่เข้าใจเรื่องการ เลือกตั้งและเป็นช่องทางร้องเรียนกรณีปัญหาการทุจริตในการเลือกตั้ง 8) บริการข่าวสารในชุมชนที่ เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 9) จัดกิจกรรมรายงานผลการเลือกตั้งในพื้นที่ 2) เนื้อหาเรื่องเลือกตั้งที่สถานีวิทยุชุมชนนำเสนอแก่ผู้ฟัง ผู้ฟังของสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ที่เป็นกรณีศึกษาช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 59.9 มีความเห็นว่าวิทยุชุมชนสนใจเสนอเนื้อหาเรื่องการเลือกตั้งในระดับปานกลาง กลุ่มผู้ฟังแสดงความ คิดเห็นว่าการเชิญชวนให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นเนื้อหาที่ได้ฟังมากที่สุด ร้อยละ 87 รองลงมาคือผู้ ดำเนินรายการให้ข้อมูลเรื่องวันและเวลาในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 85.1 และผู้ดำเนินรายการ กล่าวย้ำว่าอย่าซื้อสิทธิ์ /ขายเสียง เป็นลำดับสามคือร้อยละ 78.5 3) บทบาทหน้าที่ในการเสนอเรื่องเลือกตั้งของวิทยุชุมชน บทบาทของวิทยุชุมชนในการเสนอเรื่องทางการเมืองที่เด่นชัด คือ บทบาทที่เป็นกลไกของรัฐ ในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งไปสู่ประชาชนในท้องถิ่น วิทยุชุมชนยังแสดงบทบาท ค่อนข้างน้อยในการเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นและเป็นช่องทางการมีส่วนร่วมสำหรับ ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมือง และประชาชนในท้องถิ่น นายสถานี/ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน มีความเห็นว่าวิทยุชุมชนควรแสดงบทบาทหน้าที่ใน เรื่องเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รณรงค์ให้คนฟังไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องกระบวนการและวิธีการเลือกตั้ง ให้ความรู้เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และ เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานภาครัฐมีความคิดเห็นว่าในการเสนอเรื่องเลือกตั้งวิทยุชุมชนต้องทำหน้าที่เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ต้องทำหน้าที่รณรงค์ให้ผู้ฟังไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยวิธีการต่างๆ ควรแสดงบทบาทในการเสนอเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่เหมาะสม คือนำเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลาง ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด รวมถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นธรรม ผู้ฟังส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความเป็นกลางมีความสำคัญในการเสนอเนื้อหาเรื่องการเลือกตั้ง วิทยุชุมชนจำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร ส.ส. ทุกพรรคในพื้นที่แก่ประชาชน ควรให้โอกาส แก่ทุกพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่มาหาเสียงในรายการวิทยุอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควร เสนอเนื้อหาที่เป็นการสนับสนุนผู้สมัครคนใดหรือพรรคใด นอกจากนี้วิทยุชุมชนสามารถให้ความรู้ เกี่ยวกับการเลือกตั้งและช่วยพัฒนาการเมืองไทยได้ 4) ความรับผิดชอบต่อการเสนอเรื่องทางการเมือง ในทัศนะของนายสถานีวิทยุชุมชน วิทยุชุมชนต้องมีจิตสาธารณะกำหนดเรื่องเลือกตั้งให้เป็น วาระสำคัญของสถานี ไม่เข้าข้างผู้สมัครส.ส. คนใดหรือพรรคใด ต้องรับผิดชอบคำพูดที่ได้เสนอต่อ ประชาชน ระมัดระวังในการสื่อสารเรื่องเลือกตั้งอันจะนำไปสู่การเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ต้องยกระดับตัวเองให้เป็นผู้มีความรู้เสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ ใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ประชาชนเชื่อถือ รวมทั้งวิทยุชุมชนต้องเป็นช่องทางในการสื่อสารของประชาชน ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็นได้แต่ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน ในทัศนะของหน่วยงานภาครัฐ วิทยุชุมชนต้องมีจิตสำนึกของการเป็นสื่อมวลชนต้องทำเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน วิทยุชุมชนต้องเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ไม่บิดเบือนเนื้อหา ต้องสะท้อนมุมมองทุกด้านให้ประชาชนเข้าใจ ไม่อคติไม่ ลำเอียงหรือเข้าข้างผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง และต้องเน้นการให้ความรู้เรื่องการเลือกตั้งแก่ประชาชน
The objects of this research are to study formats, duty roles and responsibilities of community radio in presenting about the general election. The researchers collected the data by interviewing the participants as follows: community radio stationmasters and announcers, participating operators, provincial election committees and provincial public relation officers. In addition, this research uses questionnaires to survey people’ opinions in the range of community radio transmit. The conclusions of the research are as follows. 1) Program formats that community radio present about the election Program formats that community radio presents are 1) Announcers present about the election by emphasizing on conversation. 2) Launching spot of election campaign 3) Opening music related to election campaign. 4) Participating in transmitting programs related to the election from governmental radio station. 5) Setting conversation-based program containing electoral content. 6) Stipulating the subject of election to be “Agenda” of radio stations. 7) Being a channel for audiences to show opinions in “phone in” programs, to inquire any questionable information about the election and to complain about any electoral corruption. 8) Serving electoral news in communities. 9) Setting activities to report the result of local election. 2) The electoral content that community radio station present to audiences 59.9% of community radio audiences in the area of case study during the election campaign opine that community radio stations interest in electoral presenting at moderate level. Mostly, 87% of these audiences opine that the content of electoral persuasion is the most listened content. Subordinately, 85.1% of them opine that the announcers provide information about time and date to go to the election. Thirdly, 78.5% of them opine that the announcers emphasize on vote selling and buying. 3) Duty roles of community radio in presenting electoral content An outstanding role of community radio in presenting electoral matter is the role, the implement of government in communicate electoral information to local people. In the mean while, community radio still plays a little role in being a channel for presenting opinions and participated from Member of Parliament candidates, political parties and local people. Community radio stationmasters and announcers have opinions that community radio should play a role in broadcasting news related to the election, persuading audiences to go to elect, educating about election processes and methods. Furthermore, they think community radio should provide knowledge of analyzing electoral issues and be channel for people to show their opinions. Governmental organizations opine that to present electoral content, community radio has the responsibility to present electoral information and also to persuade audiences to go to the election with different methods. Also, community radio should play the appropriate role in presenting electoral content which means to present news neutrally and accurate information. Most of the audiences agree that neutrality is important to electoral content presentation. Community radio has to provide information about the candidates from all political parties for local people. Furthermore, community radio should offer opportunities to all political parties to campaign for the election equally. It should not present content supporting an individual candidate or political party. Besides, community radio can educate people about election and develop Thai political. 4) The responsibility for presenting political content From community radio stationmasters’ points of view, community radio has to have public mind to stipulate the subject of election to be an agenda of radio station. As well, community radio does not take side any candidates or political parties and has to take responsibility for every words presented to people. It should be aware of communicating electoral content leaded to misunderstanding and enhance itself to be proficient in presenting useful and accurate information. It should use language appropriately and build credibility to people. Besides, community radio has to be a communicating channel for people: information, news, opinions convey, but it has to respect for people’s judgment. From opinions of governmental organizations, community radio as a mass media has to realize about public benefit, not to seek for individual benefit. Community radio has to provide accurate and neutral information and present every point of view to make people understand. It should not bias or take any side of candidates and emphasizing on educating people about election.