DSpace Repository

รายงานวิจัยคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ปีการศึกษา 2564

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์
dc.contributor.author Siriporn Kaukulnuruk
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare th
dc.date.accessioned 2023-01-01T13:58:30Z
dc.date.available 2023-01-01T13:58:30Z
dc.date.issued 2022
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1001
dc.description ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปีการศึกษา 2564 จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กรกฎาคม 2565 th
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำ และการศึกษาต่อของบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2563 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บัณฑิตระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตในปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 90.24 และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิต จำนวน 31 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 80.64 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 91.89) อายุ 23 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 51.35) มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากที่สุด (ร้อยละ 32.43) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายศิลป์-คำนวณ (ร้อยละ 37.84) เป็นผู้ที่สมัครเข้าเรียนเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 91.89) เหตุผลที่สมัครเข้าเรียนในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ฯ พบว่า มีความสนใจอยากประกอบอาชีพเป็นนักสังคมสงเคราะห์มากที่สุด (ร้อยละ 86.49) บัณฑิตส่วนใหญ่สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร 4 ปี (ร้อยละ 94.59) โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมเมื่อสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตรุ่นนี้ได้เกรดเฉลี่ยรวมของบัณฑิตทั้งหมดเท่ากับ 2.85 ในขณะที่ทำการสำรวจบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีงานทำ (ร้อยละ 83.78) บัณฑิตทั้งหมดไม่ได้ศึกษาต่อ (ร้อยละ 100.00) ด้านความต้องการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ต้องการศึกษาต่อ (ร้อยละ 70.27) ส่วนบัณฑิตกลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อปริญญาโท (ไม่ระบุสาขา) (ร้อยละ 36.36) บัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทำภายใน 3 เดือนหลังสำเร็จการศึกษา (ร้อยละ 48.65) ด้านการเปลี่ยนงานภายในระยะเวลา 1 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยเปลี่ยนงานหลังจากได้งานทำครั้งแรก (ร้อยละ 75.68) บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 70.97) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด (ร้อยละ 63.64) ที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 45.16) รองลงมา คือ จังหวัดปริมณฑล (ร้อยละ 12.90) ส่วนใหญ่ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 44.44) ได้รับเงินเดือน 14,001-15,000 บาท (ร้อยละ 54.84) และส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์/สวัสดิการสังคม (ร้อยละ 80.65) เมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจกับงานที่ทำในปัจจุบัน พบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่รู้สึกเฉยๆ กับงานที่ทำในปัจจุบัน (ร้อยละ 58.06) รองลงมา คือ พึงพอใจมาก (ร้อยละ 32.26) ส่วนเหตุผลที่บัณฑิตรู้สึกเฉยๆ หรือไม่พอใจกับงานที่ทำในปัจจุบัน พบว่า ค่าตอบแทนต่ำ (ร้อยละ 60.00) และบัณฑิตได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ในระดับมาก (ร้อยละ 67.74) บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (X bar = 4.18) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด (x bar = 4.43) โดยค่าเฉลี่ยคุณลักษณะตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิตแต่ละด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้ดังนี้ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x bar = 4.33) (2) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (x bar = 4.28) (3) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (x bar = 4.19) (4) ด้านทักษะทางปัญญา (x bar = 4.18) (5) ด้านความรู้ (x bar = 4.06) และ (6) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x bar = 4.04) บัณฑิตประเมินคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x bar = 4.43) โดยคุณลักษณะย่อยทุกข้อได้รับการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (x bar = 4.54) มีจิตอาสาเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม (x bar = 4.54) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (x bar = 4.46) มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (x bar = 4.46) เป็นผู้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (x bar = 4.46) เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ระดับปฏิบัติการตรงกับกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้บริการ (x bar = 4.32) และสามารถคุ้มครองสิทธิสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมาย (x bar = 4.24) บัณฑิตได้ประเมินคุณลักษณะที่เป็นจุดเด๋น/จุดแข็ง ได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 62.16) ด้านคุณธรรมจริยธรรม (ร้อยละ 27.03) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (ร้อยละ 8.11) และด้านความรู้ (ร้อยละ 2.70) ตามลำดับ ส่วนคุณลักษณะที่ควรปรับปรุง คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 35.14) ด้านความรู้ (ร้อยละ 29.73) ด้านทักษะทางปัญญา (ร้อยละ 5.41) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยล 2.70) และด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (ร้อยละ 2.70) ตามลำดับ 2. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 88.00)ตำแหน่งงานเป็นผู้บริหารระดับกลาง/ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่าย (ร้อยละ 80.00) ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 84.00) และมีระยะเวลาร่วมงานกับบัณฑิตมากกว่า 6–8 เดือน (ร้อยละ 52.00) ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x bar = 4.25) โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x bar = 4.47) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (x bar = 4.43) และด้านทักษะทางปัญญา (x bar = 4.23) ด้านความรู้ (x bar = 4.18) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (x bar = 4.11) และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x bar = 4.07) ตามลำดับ ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะพิเศษในภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุด (x bar = 4.60) เมื่อพิจารณาคุณลักษณะย่อย พบว่า คุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตที่ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ เรียงตามลำดับ ดังนี้ มีจิตอาสา เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม (x bar = 4.90) มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (x bar = 4.80) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (x bar = 4.68) เป็นผู้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (x bar = 4.64) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (x bar = 4.63) และเป็นผู้ที่มีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ระดับปฏิบัติการตรงกับกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้บริการ (x bar = 4.59) ส่วนคุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมาก 1 ข้อ ได้แก่ สามารถคุ้มครองสิทธิสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมาย (x bar = 4.00) นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตประเมินว่า บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มีคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ (ร้อยละ 60.00) รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (ร้อยละ 32.00) ส่วนคุณลักษณะที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 48.00) th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject บัณฑิต -- การจ้างงาน th
dc.subject สังคมสงเคราะห์ th
dc.subject การมีงานทำ th
dc.subject Social welfare th
dc.subject College graduates -- Employment th
dc.subject การสำรวจทัศนคติของนายจ้าง
dc.subject Employer attitude surveys
dc.subject มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม – บัณฑิต -- การจ้างงาน
dc.subject Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare -- College students -- Employment
dc.title รายงานวิจัยคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ปีการศึกษา 2564 th
dc.title.alternative Characteristics of Graduates according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HEd) and Special Characteristics, Bachelor of Social Work Program, Academic Year 2021 th
dc.title.alternative คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ปีการศึกษา 2564 th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account