ชาวจีนต่างด้าวเป็นชนกลุ่มน้อยที่ได้อพยพหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินในราชอาณาจักรสยามตั้งแต่ครั้งโบราณ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า นโยบายเกี่ยวกับชาวจีนต่างด้าวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประกอบไปด้วย นโยบายอันเกิดจากผลกระทบเนื่องจากสิทธิภาพนอกอาณาเขตและการเป็นคนในบังคับของต่างชาติ นโยบายปฏิบัติเสมือนคนในชาติที่ให้เสรีภาพในการค้าขายภายในราชอาณาจักร เสรีภาพในการอยู่อาศัย การเลื่อนฐานะของชาวจีนต่างด้าวและการแปลงสัญชาติเป็นชาวไทย นโยบายผ่อนปรน แก้ไขแบบค่อยเป็นค่อยไปและช่วยเหลือในเรื่องที่ทรงมีแนวพระราชดำริว่าไม่สามารถยกเลิกได้ทันที อาทิ การพนัน หวย ฝิ่น เป็นต้น และนโยบายปราบปรามกรณีชาวจีนต่างด้าวก่อความไม่สงบและประพฤติผิดกฎหมายบ้านเมือง ในส่วนของกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราขึ้นใช้บังคับแก่ชาวจีนต่างด้าวหรือเกี่ยวข้องกับชาวจีนต่างด้าวแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ กฎหมายเกี่ยวกับการค้าและอาชีพของชาวจีนต่างด้าว อาทิ กิจการโรงรับจำนำ กิจการรถลาก กฎหมายเกี่ยวกับการภาษีอากร การจัดเก็บภาษีบ่อนเบี้ย ฝิ่นและหวย กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและมั่นคงในราชอาณาจักร ในการปราบปรามอั้งยี่และในกรณีที่ชาวจีนต่างด้าวก่ออาชญากรรมและประกาศต่าง ๆ ผลกระทบทางสังคมอันเกิดจากนโยบายและกฎหมายก่อให้เกิดการยอมรับในวิทยาการใหม่ที่ชาวจีนนำมาเผยแพร่โดยการตรากฎหมายรองรับเพื่อความสะดวกเรียบร้อย เกิดความรู้สึกรักและผูกพันแก่แผ่นดินที่ตนอาศัยและทำมาหากิน การยอมรับในสถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง การใช้นโยบายปราบปรามอย่างเด็ดขาด ในบางเรื่องอาจจะไม่ได้ผล เพราะทำให้ชาวจีนเดือดร้อน จึงทรงหันมาใช้นโยบายผ่อนปรน ผลกระทบทางเศรษฐกิจย่อมก่อให้เกิดรายได้หลักของรัฐในการจัดเก็บภาษี การผูกขาดทางการค้าของชาวจีนต่างด้าว ความสูญเสียทางเศรษฐกิจเมื่อชาวไทยนำรายได้ของตนมาใช้จ่ายในบ่อนเบี้ย หวย และฝิ่น ส่วนกรณีการเกิดอั้งยี่และการก่ออาชญากรรมของชาวจีนต่างด้าวย่อมส่งผลกระทบในทางความมั่นคงในราชอาณาจักรและทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการปราบปรามและดูแล กฎหมายและนโยบายดังกล่าว เอื้อประโยชน์ให้ชาวจีนต่างด้าวและชาวไทยต่างอยู่ร่วมกันประสานสัมพันธ์บนพื้นฐานของศาสนา วัฒนธรรมประเพณี คติความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน และความรู้สึกผูกพันและจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ตลอดมาตราบจนปัจจุบัน
The oversea Chinese are the group of Chinese people who had immigrated and settled down in the Kingdom of Siam since the ancient time and the number had increased more from early Rattanakosin Period until the reign of King Rama V This research presents the policies relating the oversea Chineses in the reign of King Rama V which are the ones arising from the effect of the extra-territorial and being the subject of the Western countries, the policy of national treatment which provided freedom of trade and settlement in the kingdom, the promotion of Chinese’s status and the nationalization, the gradual policy change and support in some situations in which His Majesty the King could not abolish social activities immediately such as gambling, lottery and opium addiction. The policy on the security and public order, to suppress the Chinese’s secret society offences and crime, are also established. The Law relating the oversea Chinese’s can be divided into 4 categories : ones relation to commerce and occupation, security and public order, taxation and the general declarations. Their effects to the Thai society were the acceptance of the Chinese intellectual things by law, including their loyalty to the Thai royal monarchy system and taking the kingdom as their homeland. This led to the spread of urban community. The good economic effects can be said to be the main income from collecting taxes ; however, the oversea Chinese’s commercial monopoly has influenced Thai domestic economy since then. Furthermore, the economic loss caused by Thai people’s excessive expenses on gambling, lottery and opium smoking. Besides, the King Rama V himself spent much of his budget on the suppression of Chinese’s secret society offences and crime. Those kinds of law and policies offered the Thai and the oversea Chinese a sheer benefits to enhance their relationship and live together peacefully. Based on the similar religion, the Thai and Chinese custom, culture, as well as their thoughts and beliefs are almost the same. Most importantly, both Thai and Chinese’s pay much respect to His Majesty the King.