รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบจัดการมูลฝอยของหอพักนักศึกษา กรณีศึกษา หอพักหญิง 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยประยุกต์แบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยภายในหอพักนักศึกษาหญิง 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยคัดแยกมูลฝอยเป็น 5 ประเภทและใช้กลไกการมีส่วนร่วมของนักศึกษา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบวัดพฤติกรรม จำนวน 233 ชุด และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบบันทึกปริมาณ/องค์ประกอบของมูลฝอย แบบสำรวจสภาพการจัดการมูลฝอยในปัจจุบัน งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลก่อนการศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอย ขั้นตอนที่ 2 การศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอย และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอย ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลก่อนการศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอย มีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย เท่ากับ 76.7 กิโลกรัม/วัน ความหนาแน่นมูลฝอยเฉลี่ย เท่ากับ 59.1 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และลักษณะของมูลฝอยทางเคมีมีความชื้น ร้อยละ 34.1 ปริมาณของแข็งรวม ร้อยละ 65.9 ปริมาณสารที่เผาไหม้ได้ ร้อยละ 92.7 และปริมาณเถ้า ร้อยละ 7.3 โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยมูลฝอยติดเชื้อมากที่สุด รองลงมา คือ มูลฝอยสด มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยรีไซเคิล และมูลฝอยอันตรายน้อยที่สุด ผลการศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยของนักศึกษาพบว่าส่วนใหญ่นักศึกษามีพฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้ โดยคณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมมีคะแนน พฤติกรรมเฉลี่ยมากที่สุด สำหรับพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยแต่ละประเภทพบว่านักศึกษามีพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีการคัดแยกมูลฝอยเป็น 2 ประเภท คือ มูลฝอยสดและมูลฝอยทั่วไป นักศึกษามีพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยแบบไม่มีการคัดแยกตามประเภทของถัง ผลการศึกษาขั้นตอนที่ 2 การศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอย ได้ทำการจัดถังมูลฝอยแบบคัดแยกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยสด มูลฝอยอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อ ใช้ถังมูลฝอยทั้งหมดจำนวน 30 ใบ สำหรับการใช้กลไกการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการคัดแยกมูลฝอยมีแกนนำนักศึกษา คือ คณะกรรมการหอพักหญิง 3 นักศึกษามีส่วนร่วมผ่านการประชุมระดมความคิดเห็นระหว่างคณะกรรมการหอพักและผู้วิจัย และใช้ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการหอพักกับนักศึกษาของหอพักทั้งหมด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การวางแผน การดำเนินกิจกรรมและการติดตามประเมินผล กิจกรรมหลักการมีส่วนร่วม คือ กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอย ผลการศึกษาขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอย พบว่าปริมาณมูลฝอยมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย (58.7 กิโลกรัม/วัน) และความหนาแน่นเฉลี่ย (50.1 กิโลกรัม/ลูกบาศก์) ลดลง และพบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยมูลฝอยสดมากที่สุด รองลงมา คือ มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยรีไซเคิล และมูลฝอยอันตรายน้อยที่สุด นอกจากนี้พบว่าปริมาณมูลฝอยเฉลี่ยระหว่างวันที่มีการส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอย (23.2 กิโลกรัม/วัน) น้อยกว่าวันที่ไม่มีการส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอย (35.5 กิโลกรัม/วัน) และนักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยโดยมีพฤติกรรมในระดับปานกลางเพิ่มมากขึ้นและพฤติกรรมระดับที่ต้องปรับปรุงลดลง (ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 70.8) ทั้งนี้คณะพยาบาลศาสตร์มีคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยมากที่สุดและนักศึกษาทุกคณะมีคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยและพฤติกรรมรายข้อเพิ่มขึ้น สำหรับพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยแต่ละประเภท พบว่าในภาพรวมมีพฤติกรรมการในทางที่ดีขึ้นและสามารถทิ้งมูลฝอยลงถังได้อย่างถูกต้องตามประเภทของถัง จากการทดสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมก่อน-หลังการศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยมีความแตกต่างกัน (P = 0.000) โดยปัจจัยทางด้านบุคคล (P = 0.109) และด้านสังคม (P = 0.125) ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยพบว่าปริมาณของมูลฝอยที่ต้องส่งกำจัดลดลงและนักศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยในทางที่ดีขึ้น แสดงให้เห็นได้ว่ารูปแบบการจัดการมูลฝอยโดยการคัดแยกมูลฝอยเป็น 5 ประเภท และการใช้กลไกการมีส่วนร่วมของนักศึกษาเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยลดปริมาณมูลฝอยของหอพักหญิง 3 ลงได้
This research state about the study of solid wastes management model of dormitory case study: female’s student dormitory 3 Huachiew Chalermprakiet university. It is the apply research that are both quantity and quality. The research was focused on model of solid wastes management in female’s student dormitory 3 Huachiew Chalermprakiet University by using solid wastes separation to 5 types (a general waste, a recycle waste, a fresh waste, a hazardous waste and an infection waste) and using the mechanical participated of students. The qualitative data was collected from 233 questionnaires; in addition, the quantitative data was collected from records that were amount and composition of solid wastes and survey record that was current status of solid waste management. Furthermore, this research was designed to three procedures, the first procedure was the study of data collection before study the model of solid waste management, the second procedure had been the study model of solid waste management and the third procedure had been the study of research evaluation. As a result, the first procedure, an average amount of solid waste was 76.7 kilograms/day and an average density of solid waste was 59.1 kilograms/cubic meter. Moreover, characteristic chemistry of solid wastes, moisture content was 34.1 percent, total solid was 65.9 percent, combustion substance was 92.7 percent and an ash was 7.3 percent. The most waste was an infection waste, the next was a fresh waste, a general waste, a recycle waste and the lowest was a hazardous waste, respectively. To sump up, the separation waste behavior, most of student had behavior in fair level; in order that, currently solid waste management of university was separated wastes to 2 buckets that were a fresh waste and a general waste. Accordingly, behavior of students was not followed type of buckets. The second procedure, buckets were arranged to 5 types (a general waste, a recycle waste, a fresh waste, a hazardous waste and an infection waste) by using 30 buckets. Besides, we used the mechanical participating of students that were waste separation and mainstay of procedure by using student committee of dormitory 3. In addition, students participated by brainstorming and meeting between the student committee of dormitory 3 and researcher. Also, the mechanical participation was divided to 4 processes; problems identification, planning, operation and evaluation. The major activity of participation was activity with waste separate encouragement. Finally, the third procedure, as a consequence, amount of solid wastes were changed; an average amount of solid wastes (58.7 kilograms/day) and an average density of solid wastes (50.1 kilograms/cubic meter) were down. Furthermore, the most was a fresh waste, the next was an infection waste, a general waste, a recycle waste and the lowest was a hazardous waste, respectively. In addition, an average amount of solid waste between the promotion days (23.2 kilogram/day) was less than the non-promotion days (35.5 kilogram/day). Besides, separation waste behavior of students in medium level increased, while adjust level down (most of student was in fair level, 70.8 percent). Furthermore, the faculty of Nursing had an average of behavior scores highest; while, all faculties had increased both an average of behavior scores and an average of behavior scores of each items. Moreover, the separation waste behavior with each type of solid waste, overall were improved and students could abandon wastes to buckets correctly by following type of buckets. However, relation test of the behavior before-after the study model of solid waste management were found difference (P = 0.000) but it were not related to a factor of person (P = 0.109) and a social (P = 0.125) on behavior of separation solid wastes, it were significant by statistic.In conclusion, the quantity of solid wastes for disposal was down. Hence, this could be indicate that we separate solid waste to 5 types and use the encouragement of solid waste separation with the mechanical participation are once method to decrease an amount of solid waste.