การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ในการปฏิบัติตนของประชาชน เมื่อเกิดแผลไหม้จากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมีและรังสี กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุ 15-59 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนมัสยิดมหานาค กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 จำนวน 100 คน แบ่งเป็นเพศชาย และหญิงจำนวนเท่ากันในแต่ละเรื่อง โดยจำแนกเป็นแผลไหม้จากความร้อนร้อยละ 40 ไฟฟ้า ร้อยละ 30 สารเคมี ร้อยละ 20 และรังสี ร้อยละ 10 เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม 4 ชุด ได้แก่ การปฐมพยาบาลแผลไหม้จากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมีและรังสี วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละของข้อมูลส่วนบุคคล และความรู้การปฐมพยาบาลแผลไหม้จากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมี และรังสี โดยหาจำนวนผู้ปฎิบัติถูกต้อง สำหรับการเปรียบเทียบความรู้ที่แตกต่างของเพศชาย-หญิง ใช้สถิติ t ทดสอบ ผลการวิเคราะห์มีดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีอายุระหว่าง 20-49 ปี อาชีพรับจ้าง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลแผลไหม้ จากความร้อน ไฟฟ้า สารเคมี และรังสี อยู่ในเกณฑ์ปานกลางขึ้นไป 3. การเปรียบเทียบความรู้ที่แตกต่างของเพศชาย-หญิง เป็นรายข้อและรายด้านพบว่า การปฐมพยาบาลแผลไหม้จากความร้อน กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงมีความรู้แตกต่างกันในรายข้อเกี่ยวกับวิธีการใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ หุ้มน้ำแข็งก้อนเล็กวางประคบแผลไหม้จนกว่าจะหายปวดแสบร้อน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การปฐมพยาบาลแผลไหม้จากสารเคมี กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงมีความรู้แตกต่างกันทั้งรายด้านและรายข้อ โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับรายข้อที่แตกต่างคือ การดูแลผู้บาดเจ็บจากผิวหนังสัมผัสสารเคมีในข้อ ถ้าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี ไม่คลื่นไส้ ไม่อาเจียน และกระหายน้ำ ให้ดื่มน้ำครั้งละน้อย ๆ ได้บ่อย ๆ ดังนั้น จึงควรให้ความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเบื้องตนเมื่อเกิดแผลไหม้ แก่ประชาชนและให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องด้วย
The objective of this study is to evaluate the knowledge of the people when they are confronted with burn wound due to heat, electric, chemical material and radiation. The study group are people aged 15-59 years who are living of Mahanak Mosque. The study period is in January of 1999 and the group is 100 people. There are equal number of males and females. The burn wound are divided into burn wound from heat 40% . electric 30%. Chemical material 20%. And radiation 10 %. The tools for this research comprise of four sets of questionnaire. There are first aid care for heat, chemical material and radiation burn wound. The analysis is done by calculating percentage of personal data knowledge in the first aid care for heat. Electric, chemical material and radiation burn wound. We us t-test to compare the knowledge of males and females. The results are the following. 1. The sample group mostly are aged 20-49 years. Are employed and finished primary education. 2. The sample group have knowledge in first aid care for heat. Electric, chemical material, and radiation burn wound above average. 3. The compare of knowledge between males and females in topics and items: The first aid care in burn wound from heat-males and females have different knowledge in application of wet towel with ice chip to cover the neat contacted area in order to soothe the patient from pain. The difference is statistically significant at 0.05. The first aid care from chemical material-the males and females have different knowledges both in topic and item. The difference is statistically significant at 0.05. The item is how to take care of the wounded due to skin contact with chemical material if the wounded is well conscious, no nausea, vomiting and thirsty. They are allowed to sip the water frequently. So we should educate the people how to take care of the burn wound and to properly practice it.