รายงานการวิจัยเรื่องการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อการชะลอวัยเป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพื่อการชะลอวัย โดยใช้แบบสังเคราะห์ที่ผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยประยุกต์แนวคิดการการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้วยวิธีแมทริกซ์(matrix method) เก็บรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย จ านวน 71 เรื่อง ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงพ. ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559 ผลการวิจัย พบว่า งานวิจัยที่น ามาทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและงานวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงส ารวจมากที่สุดร้อยละ 32.39 รองลงมาคืองานวิจัยกึ่งทดลอง/งานวิจัยกรณีศึกษาเชิงวิเคราะห์ร้อยละ 21.13 และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบร้อยละ 9.86 วิธีการดูแลสุขภาพและผลลัพธ์ของการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอวัยที่ใช้มี 4 วิธีได้แก่1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) การรักษาหรือให้สารสังเคราะห์เข้าไปในร่างกาย 3) การใช้แพทย์ทางเลือกและการแพทย์แบบผสมผสาน และ 4) การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ บทบาทพยาบาลในการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอวัย โดยใช้กระบวนการพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ผู้รับบริการปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้การสร้างเสริมสุขภาพและป้องการเกิดโรคเป็นวิธีการชะลอวัยจากภายในเซลล์สู่ภายนอกเพื่อให้ผู้รับบริการมีสุขภาพดีตลอดช่วงอายุ
This research report is a systematic literature review about anti-aging health care as a research document aimed at studying the characteristics of anti-aging health care and analyzing the content of studies about anti-aging health care by using a content analysis form that had been examined for content validity by three qualified professionals. The concept of systematic literature review was applied by the matrix method. Data was collected from 71 research articles published from 2007 to 2016. According to the findings, the most of the sampling that was randomized control trials and descriptive or survey studies (32.39%), followed by quasiexperimental studies/case studies-analytical research (21.13%) and systematic literature reviews (9.86%). The following four anti-aging health care methods are available: 1) behavior modification; 2) treatment or administering synthetic substances into the body; 3) use of alternative medicine/integrative medicine and4) stem cell therapy. The nursing role in providing anti-aging health care involves theimplementation of nursing processes. The purpose is to provide knowledge and self-care behaviors for the service recipients are safe and does not complicate the treatment. This suggests for this study that health promotion and disease prevention is one way to provide anti-aging from the inside of the cell to the outside of the person and live a health life.