DSpace Repository

การบริหารจัดการศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยจากมหาอุทกภัยปี 2554

Show simple item record

dc.contributor.author นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
dc.contributor.author ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.author ขัตติยา กรรณสูต
dc.contributor.author Nutchanat Yuhanngoh
dc.contributor.author Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya
dc.contributor.author Kattiya Kannasut
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2023-01-10T12:02:33Z
dc.date.available 2023-01-10T12:02:33Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1041
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ทุนทางสังคม การบริหารจัดการ และกิจกรรมในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยจากมหาอุทกภัยปี 2554 ในระดับต่างๆ รวมถึงความพึงพอใจของผูู้เกี่ยวข้องในศูนย์พักพิง และเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการศูนย์พักพิงที่เหมาะสมที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือภัยพิบัติระดับภูมิภาคอาเซียนปี 2547-2553 ต่อเนื่องถึงปี 2553-2558 (ASEAN Regional on Disaster Management Plan) ซึ่งประเทศไทยเป็นคณะทำงานด้านการป้องและบรรเทาสาธารณภัยที่มีภาระความรับผิดชอบ ที่สำคัญ คือ การเน้นย้ำการให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการจัดการความเสี่ยงและรับมือกับภัยพิบัติ และการพัฒนาเครื่องมือและแนวทางในระดับชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงระดับโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ประสบการณ์และคู่มือการปฏิบัติงานในหมู่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติ วิธีการศึกษาวิจัย ใช้วิธีสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและผู้พักอาศัยในศูนย์พักพิง 5 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี) และชลบุรี โดยเลือกศูนย์ที่ใช้เป็นกรณีศึกษาตามความประสงค์ ได้แก่ ศูนย์ที่อาศัยชุมชนเป็นฐานระดับมากที่สุด 2 แห่ง (โรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชน และชุมชน) อาศัยชุมชนเป็นฐานะระดับน้อยที่สุด 1 แห่ง (ฐานทัพเรือภาครัฐ) และอาศัยชุมชนเป็นฐานระดับปานกลาง 2 แห่ง (โรงเรียนเอกชนและวัด) โดยมีประเด็นศึกษา 3 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมและทุนทางสังคม การบริหารจัดการศูนย์และกิจกรรมในศูนย์พักพิง และตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้บริหารจัดการและผู้พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมและทุนทางสังคม คือ ศูนย์ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งใกล้บ้านและการมีทุนทางสังคมอันเป็นที่ยอมรับและคุ้นเคยของผู้คนในชุมชนอยู่แล้ว โดยเป็นสถาบันทางสังคม 2) การบริหารจัดการและทีมงาน การที่ผู้บริหารเองมีทุนทางสังคมอยู่เดิมและความจริงใจที่มีต่อผู้ประสบภัยและความห่วงใย เอื้ออาทรของผู้บริหาร/ทีมงาน รวมทั้งผู้ที่พักอาศัยซึ่งคุ้นเคยกันมาก่อนแล้ว ตลอดจนรวมการมีกิจกรรมที่น่าสนใต มีผลให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งโดยการประเมินที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความพร้อมในการเปิดศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย และ 3) ข้อเสนอแนะที่ได้จากข้อค้นพบของงานวิจัยนี้ th
dc.description.abstract The objectives of this study is to find out the main factors effecting the satisfaction of the concerns – the management and the occupants of the temporary flood housing centers supported by communities at 3 levels . the most , the middle and the least. The searchers hopefullyaim that the result of this study will be at least useful as a part of an operational guideline for ASEAN Regional on Disaster Management of which Thailand is responsible as a working group in emphasizing and developing efficient community based measures on risk and disaster management including school , community institution and governmental agency , in order to learn and share concepts and methods about the best practices , the learned experiences and the practical guidebooks among the expertise and the practitioners. Five temporary flood housing centers were chosen by purposive sampling from those located within Bangkok Metropolitan area and Cholburi province. Regarding to community based degree levels :- the most community supported were 2 centers (I public school in Nonthaburi and 1 private school in Bangkok) , the middle communitysupported were also 2 centers (1 private school in Cholburi province and 1 Wat in Patumthani province) and the least community supported was 1 center ( the governmental agency – a naval base in Cholburi province.) The findings revealed that the centers which locate in the community near the occupants homes , well known with their social capital as community institution , and theirmanagement with sheer sincerity based on sympathical understanding of the occupants as disasters victims together with suitable arrangement of activities are the most important factors leading to the concerns’ satisfaction as being evaluated formally and informally. The suggestionhence concluded shortly into “ small size housing , being near home , loam by familiar people , double with sincere management make a satisfactory center. Furthermore , the research also implicitly showed that the temporary flood housing centers , if being continuously empowered willbecome as both means & ends in creating social mind and participative democracy to achieve a happy community leading to a happy society (The 11th National Economic and Social Plan (1912-1916) and to further become a happy ASEAN Society as a part of a happy world finally. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2554 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ผู้ประสบภัย. th
dc.subject Disaster victims th
dc.subject อุทกภัย -- ไทย -- 2554 th
dc.subject Floods -- Thailand -- 2011 th
dc.subject การบรรเทาสาธารณภัย -- ไทย th
dc.subject Disaster relief -- Thailand th
dc.subject ศูนย์พักพิง th
dc.title การบริหารจัดการศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยจากมหาอุทกภัยปี 2554 th
dc.title.alternative The Management of the Temporary Shelter for Flood Victims of the Year 2011 th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account