การวิจัยเรื่องการศึกษาทักษะการทำคลอดปกติและความคิดเห็นต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากการสอนทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอด และความคิดเห็นต่อการสอนทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2541 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่กำลังศึกษาวิชาประสบการณ์การพยาบาลแม่และเด็ก 1 จำนวน 12 คน โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มๆละ 6 คน ในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลพื้นฐาน จากสูง ปานกลาง ต่ำ โดยมีการจัด การสอนทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง แต่ละกลุ่มหมุนเวียนสลับกันฝึกปฏิบัติการทำคลอดจริง และทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอดในการปฏิบัติทำคลอดในรายที่ 3 ตามแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอด และรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นต่อการสอนทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกัน และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาล เครื่องมือทุกชุดสร้างโดยผู้วิจัยและตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงตรงของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกัน คือ 0.80 แล้วนำมาทดสอบความเชื่อมั่นของคู่สังเกตได้คะแนนความเชื่อมั่น คือ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอด ส่วนใหญ่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ โดยในด้านการเตรียมผู้คลอดได้คะแนนเฉลี่ย 3.19 ด้านการทำคลอดทารกได้คะแนนเฉลี่ย 3.40 ด้านการช่วยเหลือและประเมินสภาวะผู้คลอดหลังคลอดได้คะแนนเฉลี่ย 3.64 ด้านการเตรียมสถานที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการคลอดได้คะแนนเฉลี่ย 3.77 ด้านการเตรียมผู้คลอดและอุปกรณ์การคลอดในขณะคลอด และด้านการช่วยเหลือและประเมินสภาวะทารกแรกเกิดได้คะแนนเฉลี่ย 3.82 ด้านการทำคลอดรกได้คะแนนเฉลี่ย 3.88 ดังนั้นคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทักษะการทำคลอด อยู่ระหว่าง 3.19 -3.88 ยกเว้นด้านการคลอด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ คือ 2.74 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอนทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกันทั้งหมด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยในด้านการวิธีการสอนและเทคนิคการสอน ได้คะแนนเฉลี่ย 4.13 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ได้คะแนนเฉลี่ย 4.33 ด้านการเตรียมการสอน ได้คะแนนเฉลี่ย 4.63 ดังนั้นคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอนทักษะการทำคลอดปกติโดยวิธีเรียนรู้ร่วมกันอยู่ระหว่าง 4.13-4.63
This study was purposed to assess delivery skill achievement and opinion of nursing students from Faculty of Nursing at Huachiew Chalermprakiet University by cooperative learning. A sample size drawn from 12 sophomore students taking a course in Maternal and child Nursing Practicum I. Subjects were divided into 2 groups. Six for each group by practice rotation. Each group was composed of the high, the moderate and the low achieves from a course of Fundamental of Nursing. The samples were trained on delivery skill by cooperative learning 24 hours weekly for 3 weeks. Delivery skill achievement of each student was assessed by using the Achievement Test form constructed by the experimenters at the third case delivery. The research instruments which were developed by the researchers and tested for the content validity by the experts, were the achievement test of cooperative learning and the questionnaires about delivery skill by cooperative teaching. The reliability was 0.80 and rator test was 0.89. Data analysis were use mean and standard deviation. Major finding were as follows; General achievement means score on almost all aspects of delivery skill of the sample was higher than the standard criterion ranging from 3.19-3.88 ie : the achievement means score for delivery preparing was 3.91, delivery of baby was 3.40, assisting and postpartum assessment was 3.64, setting area and instruments was 3.77, preparing client and instruments during delivery and assisting and assessment newborn was 3.82, and delivery of placenta was 3.88. However the means score of 2.74 for delivery was lower than the standard criterion. The results also revealed that the samples were highly satisfied with the cooperative learning as having the means score ranging from 4.13 - 4.63 ie : the means score of opinion for teaching method and technique were 4.13, measurement and evaluation were 4.33, and teaching preparation were 4.63.