DSpace Repository

การสำรวจผลงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์

Show simple item record

dc.contributor.author อภิชัจ พุกสวัสดิ์
dc.contributor.author Apichat Puksawadde
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts th
dc.date.accessioned 2023-01-16T06:54:41Z
dc.date.available 2023-01-16T06:54:41Z
dc.date.issued 2010
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1057
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง การสำรวจผลงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ถึงปี พ.ศ.2550 โดยเลือกศึกษา คุณลักษณะงานวิจัย ประเภทของการวิจัย รูปแบบการวิจัย ขอบข่ายการวิจัย แนวคิด ทฤษฎีการสื่อสาร แนวคิดการประชาสัมพันธ์ และแนวคิดภาพลักษณ์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้แบบฟอร์มลงรหัส (Coding Sheet) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรเป้าหมายทั้งหมดคือ งานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเฉพาะที่เป็นวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยทั่วไปของอาจารย์ นักวิชาการ ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงปี พ.ศ. 2550 กระทำโดยใช้วิธีการสืบค้นผ่านเว็บไซต์ฐานข้อมูลของสำนักหอสมุดกลางในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่เปิดสอนทางด้านนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารการตลาดในระดับบัณฑิตศึกษารวมทั้งหมด 134 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยใช้สถิติร้อยละ ผู้วิจัยได้ประมวลผลข้อมูลทั้งหมดโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะของงานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ พบว่า สัดส่วนของงานวิจัยไม่คงที่ มีเพิ่มจำนวนขึ้น และลดจำนวนลง ปีที่มีงานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์มากที่สุดคือ ปีพุทธศักราช พ.ศ. 2539 ส่วนใหญ่เป็นงานวิทยานิพนธ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากพิจารณาในส่วนของสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ และสาขาวิชาสื่อสารมวลชนเป็นสาขาที่มีงานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์มากที่สุด 2. ประเภทของการวิจัยในงานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ 3. รูปแบบของการวิจัยในงานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ ใช้การวิจัยเชิงพรรณนามากที่สุด 4. ขอบข่ายการวิจัยในงานวิจัยภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ศึกษาวิจัย มากที่สุด คือ ภาพลักษณ์สถาบันหรือภาพลักษณ์องค์กร 5. แนวคิด ทฤษฎีการสื่อสารที่ใช้มากที่สุด คือ ทฤษฎีการเปิดรับข่าวสาร ทฤษฎีการกำหนดวา ระข่าวสาร และทฤษฎี แบบจำลองการสื่อสารการประชาสัมพันธ์ 6. แนวคิดภาพลักษณ์ที่ใช้มากที่สุด คือ แนวคิดประเภทของภาพลักษณ์ และความหมายของ ภาพลักษณ์ th
dc.description.abstract “The Survey of Research on the Image of Public Relations” is to study the quality, types, forms and scopes of Research on the Image of Public Relations as well as examine communication concepts and theories, Public Relations concepts, Image concepts employed in Research. The research is quantitative in nature using a content analysis approach and coding sheets as a data gathering technique. The research population includes all Thai-written Research on the Image of Public Relations and academic research reports published during 1988-2007. The survey was conducted by collecting 134 copies of Research on the Image of Public Relations from on-line database of both state and private universities that offer graduate programs in Communication Arts, Mass Communication, Journalism, Advertising ,Public Relations, Marketing Communication. The data was analyzed by using descriptive statistics which was computerized by SPSS/PC+. The results are as follows : 1. There is no consistent increase in the number of research. The largest number of the research was found in 1996 and most of them are theses belonging to Chulalongkorn University and Thammasat University. 2. The most popular types of research are quantitative. In terms of its form, it mostly employs descriptive research approach. 3. Most research is focus on the study of Institutional Image 4. The concept and communication theories that are used the most are receptive theory, agenda setting and model of public relations theory. 5. The most frequent applied conceptual framework is types of image, image concepts and definitions th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ภาพลักษณ์ขององค์การ
dc.subject Corporate image
dc.subject Public relations
dc.subject การประชาสัมพันธ์
dc.title การสำรวจผลงานวิจัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ th
dc.title.alternative The Survey of Research on the Image of Public Relations th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account