วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และความคิดเห็นต่อความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนของโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณในการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ พื้นที่ในการศึกษาคือชุมชนที่อยู่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ในรัศมี 5 กิโลเมตร ในเขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร และใน 3 ตำบลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ คือ ตำบลราชาเทวะ ตำบล บางโฉลง และตำบลศีรษะจรเข้น้อย ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกของครัวเรือนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาย ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ประกอบธุรกิจ/การค้า ทำงานในภาคบริการ ตามลำดับ อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นต์ ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งพักอาศัย ไม่มีที่ดินทำกิน สำหรับผู้มีที่ดินทำกินส่วนใหญ่มีที่ดินทำกิน 1-5 ไร่ มีทรัพย์สิน และสิ่งอำนวยความสะดวกในที่พักอาศัยครอบถ้วน แหล่งที่มาของรายได้ของครัวเรือน ส่วนใหญ่ มาจากกิจกรรมนอกภาคเกษตรโดยเป็นแรงงาน/จากการรับจ้าง ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับรายได้ของครัวเรือนตนเองอยู่ในระดับต่ำ มีหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระของครัวเรือนร้อยละ 32.8 แหล่งเงินกู้ ส่วนใหญ่ คือธนาคารพาณิชย์ จำนวนเงินที่เป็นหนี้สิน น้อยกว่า 100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมา คือ เป็นหนี้สินระหว่าง 100,001 – 1,000,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.6 เมื่อเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของตนเองกับครัวเรือนอื่นๆ ในหมู่บ้าน/เพื่อนบ้าน มีถึงร้อยละ 38.3 เห็นว่าฐานะทางเศรษฐกิจของตนเองมีระดับต่ำ แสดงว่า ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของครัวเรือนในแถบนี้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า สมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในหมู่บ้านสูงถึงร้อยละ 68.0 และไม่ได้เป็นสมาชิกหรือมีส่วนร่วมในการทำงานกับองค์กรใด ๆ แสดงว่า สมาชิกของครัวเรือนมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นในระดับน้อย ด้านความคิดเห็นต่อความอยู่ดีมีสุข ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับความอยู่ดีมีสุขในด้านต่างๆ มีค่าเฉลี่ย 7.75 ซึ่งอยู่ในระดับสูง โดยให้ความสำคัญมากที่สุดเรื่องการมีสุขภาพดี รองลงมาการเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ รถไม่ติด การมีหลักประกันในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วม การมีพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะอยู่ใกล้บ้าน และการมีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ปลอดจากมลภาวะทางเสียง ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งนี้ในระดับนโยบาย รัฐบาลควรมีนโยบายในการเข้ามาดูแลเรื่องสุขภาพ สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และควรเป็นเจ้าภาพในการจัดให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการร่วมกันจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนรอบสนามบิน ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ กรมทางหลวง ควรก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกเจ้าคุณทหาร และสะพานข้ามแยกเข้าเคหะชุมชนร่มเกล้าตามแนวถนนร่มเก้าซึ่งเป็นเส้นทางเข้า-ออกสนามบินทางทิศเหนือโดยด่วนเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในเวลาเร่งด่วนบนถนนร่มเกล้า สถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนในพื้นที่ในการดูแลสุขภาพ การสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาสภาพแวดล้อมที่ทำให้ชุมชนน่าอยู่ การดูแลผู้สูงอายุ และการให้ความรู้เรื่องสิทธิแรงงานให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานในย่านอุตสาหกรรมที่อยู่รอบ ๆ สนามบินสุวรรณภูมิ
The objectives of this research was to study economic situation, social relation, and opinion towards well-being of households surrounding Suvrnabhumi Airport. The quantitative research was employed to sampling 400 households according to formula of Taro Yamene (1993). The research area was communities within 5 kilometers surrounding Suvarnabhumi airport belonging to Ladkrabang district in Bangkok and 3 sub-district namely Rachateva, Bangchalong, and Srisa chorake noi in Samudprakran province. The research finding was most respondents were male, working in industrial sector, trading sector , and services sector respectively, living in apartment, didn’t own land where they lived. For those who have land mostly having only 1-5 rai. Most households had asset and furnished full equipment for their living. Most sources of income came from off farm activities i.e. labor/employment in enterprises or business sector. Most household had less satisfaction on their income and had debted 32.8 % out of 400 households. Source of loan was commercial bank, 65.9 % of household had debted Baht 100,000 and 30.6 % had debted Baht 100,001 – 1,000,000. Comparing to the other households, 38.3 % of respondent feel that their income was lower. For social relation, 68% of households member didn’t hold an important position in their village and had no membership or participation with any organization. In terms of opinion towards well being, the respondents rated well being indicators as of 7.5 in average which was rather high. The highest ratting were good health, convenient in travelling/no traffic jam, safety in life and asset, living in no flooding area, having house in green zone or public garden, and no voice pollution in leaving area. Based on these findings, the government should closer look after the well being of household surrounding Suvarnabhumi Airport especially health, environment, safety in life and asset as well as being the host in organizing Bangkok Metropolitan Administration and Samudprakran province to join hand in drafting master plan for well being of household surrounding Suvarnabhumi Airport. For practical suggestions, Department of Highway should built fly over across inter section along Romkaow road to reduce the traffic jam during rush hours. Academic institutions should encourage theirs lecturers to conduct action research with sub-district administrative organizations strengthening local people in health care, safety in life and asset, environmental conservation, take care of aging, and provides knowledge on labor right in industrial area surrounding Suvarnabuumi Airport.