การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความวิตกกังวลของมารดาหลังคลอดที่ทารกถูกแยกไปเพื่อการดูแลรักษา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าว และความสามารถของการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ในการร่วมทำนายความวิตกกังวลของมารดา โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy's Adaptation Model) เป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นมารดาหลังคลอดที่ทารกถูกแยกไปเพื่อการดูแลรักษา แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแบบสอบถามความวิตกกังวล ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของมารดาหลังคลอดที่ทารกถูกแยกไปเพื่อการดูแลรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r=.261, P < .01) และทั้งการสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์ในทางลบกับความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r=-.198, p= .05 ; r = -.663, p < .01 ) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถทำนายความวิตกกังวลของมารดาได้ร้อยละ 43.50 ( F 1,118 = 92.73) ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนทฤษฎีการปรับตัวของรอยในส่วนที่ว่า ผลของการปรับตัวของบุคคลขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าต่างๆ และระดับความสามารถในการปรับตัวของบุคคล พร้อมกันนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ และการทำวิจัยครั้งต่อไป
The descriptive study was conduct to describe social support, self-esteem and anxiety of mothers whose newborn were separated for treatments. The purpose of study was accomplished by examining the relationship of these factors. The sample consisted of 120 mothers whose newborns were separated for treatments at obstetrics department of Pramongkutklao hospital. The conceptual framework guiding the study derived from the Roy’s Adaptation Model. The data collections instruments included the demographic data record, the personal resource questionnaire 85 part 2, coopersmith self-esteem inventory adult form 1975 and anxiety and depression assessment questionnaire. Descriptive statistics, person’s product moment correlation and stepwise multiple regression were used to analyze the data. The finding indicated that social support was positively related to self-esteem ( r=.261, P < .01). Both social support and self-esteem were negatively related to anxiety of mothers whose newborns were separated for treatments (r= -.198, p = .05 ; r = -.663, p < .01). In addition, self-esteem were found to be the predictor of mother’s anxiety and accounted for 43.50%. The results support the Roy’s Adaptation Model in that the adaptation’s results are up to stimulis and person’s level of adaptation. Implications of findings and recommendations for further study were suggested.