รายงานการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์วิทยาเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู็ดูแลหลัก ในด้านการรับรู้ต่อการเจ็บป่วย การประคับประคองภายในครอบครัวที่สนับสนุนทางด้านอารมณ์ผู้ป่วยที่ใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว และการแสวงหาแหล่งบริการด้านสุขภาพจิต โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในผู้ดูแลหลักของครอบครัวผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท จํานวน 13 ราย ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 51.62 (±16.63) ปี เป็นเพศหญิง และไม่ได้ทํางาน มีระยะเวลาดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยเฉลี่ย 11.58 ปี ช่วงเวลาในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 40 ปี การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า ผู้ดูแลมีการรับรู้เมื่อสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคจิตเภทจะแสดงความรู้สึกตกใจ เสียใจ และกังวลใจ ทําให้การสื่อสารในช่วงแรกจึงเน้นการใช้คําสั่งเพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรม เมื่อสถานการณ์นั้นไม่เป็นผลผู้ดูแลจึงยอมรับในอาการของผู้ป่วยจิตเภท ประเมินอาการ และมีวิธีการรับมือกับปัญหาของผู้ป่วย ผู้ดูแลในวัยสูงอายุมีความกังวลต่ออนาคตในการที่จะต้องหาบุคคลมาดูแลต่อเนื่องและสถานที่สําหรับการดูแลระยะยาว
The purpose of qualitative research was to explore through describing the phenomenological of experiences among family caregivers with schizophrenia patient such as the family perceptions of members with schizophrenia, the family emotional support the patients based on Peplau s’ theory of interpersonal relations and the mental health care services seeking. In-depth Interviews and participatory observation was conducted with thirteen primary caregivers of member diagnosedwith schizophrenia. The majority of caregivers were women, unemployed and their mean age was 51.62 years (± 16.63 years). All caregivers lived with schizophrenia patients more than six months until forty years. The mean duration of care was 11.58 years. According to content analysis, their family experiences showed the perception of illness member with schizophrenia was shocked, sad, and anxiety. At first, most of caregivers communicated and controlled the patients’ behavior by commanding. After unsuccessful situations, they had been finally accepted and assessed symptoms of schizophrenia patients and coping with their problems. The aging family caregivers had more worry in the future about the other caregivers who was continuous taking care and providing long-term place for schizophrenia patients.