งานวิจัยเรื่องการศึกษาความมั่นคงทางครอบครัวของกลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการในจังหวัดสมุทรปราการนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบลักษณะของครอบครัวของแรงงานในภาคต่างๆ รวมทั้งทัศนคติต่อตนเองและสุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว การใช้เวลาในครอบครัวและการเลี้ยงดูลูกโดยใช้ความรัก และผลของปัจจัยด้านครอบครัวทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวที่มีต่อความมั่นคงในครอบครัว โดยทำการศึกษากลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการในจังหวัดสมุทรปราการ เก็บข้อมูลจากตัวอย่างทั้งสิ้น 333 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง มีผลให้ผู้นั้นมีความสัมพันธ์ในครอบครัวดี มีการใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีคุณภาพและมีความมั่นคงในครอบครัวสูง โดยครอบครัวที่สมรสและอยู่ด้วยกันจะมีลักษณะทางครอบครัวดังกล่าวดีที่สุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวในภาคพาณิชยกรรม 2. ครอบครัวที่ไม่สมรสและอยู่ด้วยกัน จะมีทัศนคติต่อตนเองต่ำ ทำให้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวระดับต่ำและมีการใช้เวลาในครอบครัวไม่ดีนัก ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวในภาคอุตสาหกรรม 3. ครอบครัวที่ไม่สมรสและอยู่ด้วยกัน ซึ่งมีลักษณะทางครอบครัวที่ไม่มั่นคง มีผลมาจากการมีปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะครอบครัวในภาคบริการ คือมีอายุน้อย มีรายได้เฉลี่ยต่ำ ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยตนเองได้ โดยมีสัดส่วนการส่งลูกกลับไปให้ตายายเลี้ยงสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบครอบครัวแรงงานทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าครอบครัวแรงงานในภาคพาณิชยกรรม ซึ่งลักษณะครอบครัวเป็นผู้สมรสและอยู่ด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ มีความมั่นคงในครอบครัวสูงที่สุดส่วนครอบครัวในภาคอุตสาหกรรม มีความมั่นคงในครอบครัวในระดับต่ำกว่าแรงงานกลุ่มแรก เนื่องจากการมีทัศนะคติต่อตนเองต่ำและมีความสัมพันธ์ในครอบครัวต่ำ และแรงงานในภาคบริการมีความมั่นคงในครอบครัวต่ำที่สุด เกิดจากการมีปัจจัยคุณภาพชีวิตค่อนข้างต่ำ
A study on families of labours in industrial, commercial and service sectors in Samutprakarn Province aims to study the relationship of self-attitudes and mental health with family relationship, time-used and child rearing types of labour’s families and also to find factors effected labour families’s security. The data was collected from 333 samples from 3 sectors of occupations. The results showed that labours in commercial sector had highest level of family security, as a result of commercial laborus mostly were married and lived together with spouses, had good self-attitued and normal mental health. Lobours in families in industrial sector mostly had low self-attitudes which minimized family’s relationship and time-used quality in the families. Labours in families in service sector had lowest level of family’s security as from most of them had low quality of lives, such as: mostly young, had low income, unable to take care their own children, etc. The result of the analysis revealed that family relationship, time-used quality, self-attitudes and child rearing type effeced family’s security of labour’s families.