การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional Survey Research) ศึกษาพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างจํานวน 380 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้รับการตอบกลับร้อยละ 100 จากการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เรียงจากมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองของนักศึกษาในการป้องกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักษณะที่อยู่อาศัย เพศ สถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ แรงสนับสนุนจากเพื่อน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้นักศึกษามีพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ดี ที่ซึ่งตัวแปรอิสระดังกล่าวสามารถอธิบายพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ 43.4% นอกจากนั้นยังผู้วิจัยยังพบความสัมพันธ์ระดับน้อย ระหว่างแรงสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย กับพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อีกด้วย นอกจากนั้นพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของนักศึกษา นั่นคือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระดับดี จะมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนอยู่ในระดับที่ดีขึ้นไปถึงร้อยละ 76.3 และเมื่อวัดระดับความสัมพันธ์ด้วยค่า Gamma มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (gamma=0.319) และยังพบว่าพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ยังมีผลกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา นั่นคือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการป้ องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ดีจะทําให้มีคุณภาพชีวิตดีตามไปด้วย โดยพฤติกรรมการป้ องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถอธิบายคุณภาพชีวิตได้ 4.8% จากผลการวิจัย พบว่าหากมหาวิทยาลัยต้องการเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษา สามารถเสริมสร้างโดยการสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองให้กับนักศึกษา เช่น เน้นการสร้างกิจกรรมที่มีประโยชน์ให้กับนักศึกษาอาจจะส่งเสริมในรูปของชมรมต่างๆ ตามที่นักศึกษาสนใจ โดยเฉพาะนักศึกษาชาย ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้ว กิจกรรมที่ทํางานเป็ นทีมยังช่วยสร้างพฤติกรรมที่ดีจากการเสริมแรงจากเพื่อนด้วย รวมทั้งการที่มหาวิทยาลัยมีการเสริมแรงในเรื่องของการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยออกมาเป็นนโยบายที่ชัดเจนของมหาวิทยาลัย มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องนักศึกษาส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยรับรู้ ส่งผลให้นักศึกษามีพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จึงนับว่าเป็นนโยบายที่ได้ผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ให้กับนักศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะทําให้มหาวิทยาลัยสามารถป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ดังนั้น การส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางสําคัญที่จะทําให้นักศึกษา มีพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ดี อันจะนําไปสู่ผลการเรียนที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาต่อไป
The purpose of this cross-sectional survey research was to study preventive behaviors for alcohol beverage consumption among college students: a case study of one private university with the sample of 380 students. The data collection method was conducted by a questionnaire with one-hundred percent of feedback. It was found that variables influencing preventive behaviors for alcohol
consumption among students in the university arranged from the highest: self-efficacy among the students in drinking prevention, dwelling aspects, gender, family’s financial status, knowledge about alcohol beverage, and peer support. These factors resulted in improvement of students’ preventive behaviors for alcohol consumption. The independent variables explained alcohol-preventive behaviors by 43.4 percent. Additionally, an author found an implicit association between university support and preventive behaviors. Furthermore, preventive behaviors for alcohol beverage consumption associated with student’s academic achievement. That is, students with good preventive drinking behaviors bettered their academic achievement by 76.3 percent. The association level
was of medium level employing Gamma measure (gamma=0.319). Similarly, the study indicated that the preventive behaviors affected student’s quality of life. That is, ones with good preventive behaviors tended to have a better quality of life indicated by 4.8 percent. The result indicated that if the university wanted to fortify preventive behaviors for alcohol beverage consumption among students, it could achieve the goal by reinforcing self-efficacy to the students through activities beneficial to the students or several interest-base clubs especially among male students. They would spend time usefully and benefited from teamwork by peers reinforcement Besides, the academic institute reinforced prevention of alcohol beverage by distinct policies and continuous campaigns. The student majority were aware of them giving rise to clearer preventive
behaviors for alcohol consumption. The policies were effective toward increasing preventive behaviors for drinking consumption among students in one important way. This enabled the university to prevent possible problems due to alcohol consumption of the students. Hence, the activity promotion was a significant way to equip students with better preventive behaviors for alcohol consumption which would lead to better academic achievement and quality of life.