การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 427 คน ได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาพยาบาลที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดความสุขของคนไทย (Thai Happiness Indicator 15: THI-15) พัฒนาขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One way ANOVA และ Stepwise Multiple Regresion Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีคะแนนค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตในภาพรวมไม่แตกต่างกัน โดยคะแนนค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์คนปกติ (Mean = 28.58+-4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้นปีพบว่า ชั้นปีที่ 2 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขสูงสุด (Mean =28.89 +-4.34) รองลงมา ได้แก่ชั้นปีที่ 1, ชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 3 (Mean = 28.76 +-4.82, Mean =28.47+-3.85 และ Mean = 28.17+-3.97) ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลร่วมในการทำนายภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ เพศ และรายได้ต่อเดือนของนักศึกษาโดยสามารถร่วมกันทำนายภาวะสุขภาพจิตได้ร้อยละ 23.50 3. สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล = 0.473 (ความฉลาดทางอารมณ์) + 0.105 (เพศ) + 0.097 (รายได้ต่อเดือนของนักศึกษาพยาบาล) สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเพศ รายได้ของนักศึกษาและความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลซึ่งจะต้องมีการติตดามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คงไว้ซึ่งสุขภาพจิตที่ดีต่อตนเอง และวิชาชีพพยาบาล นอกจากนี้แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยการใช้ทักษะชีวิตเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์แก่นักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเสริมในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
The purpose of this present study was to investigate mental helath in nursing students. The influence factors included in this study were gender, emotional quotient (EQ), achievement, income and mental health. The subjects of this study were selected of 427 nursing students who studied in years 104 at huachiew Chalermprakiet University by a multi-stage random sampling technique. The instruments of this study were the demographic data, the Thai emotional quotient (EQ) for ages 12-60 years and the Thai Happiness Indicators -15 (THI-15). The Thai EQ and the THI-15 had been developed by the Department of Mental Health, the Ministry of Public Health that has previously been tested for validity and reliability. All questionnaires were collected and analyzed by the statistical analysis: frequency, percentage, mean, standard deviation, one way ANOVA and Stepwise Multiple Regression Analysis. The finding of this study found as following; 1. The mean of mental health score was 28.58(+-4.21). There were not different in the mental health scores among four years. The second year students showed the highest mean happiness score (28.89+-4.34), followed by first year (28.76+-4.82), four (28.47+-3.85) and third year (28.17+-97), respectively. 2. The major variables to predict the mental health of nursing students were statistically significant in EQ, gender, students' income. All these variables could predict the nursing students' mental health at 23.5% (R[superscript 2] = .235, p<.001 and p<.05). 3. The equation of mental health prediction in standard score were: Mental Health = 0.473(EQ) + 0.105 (gender) + 0.097 (students' income). In order to improve mental health of nursing students monitor their life skill EQ and the individual factors and ensure they feel more positive-themselves and nursing professional. The effective life skill education should be strengthening for the nursing curriculums.