ในปัจจุบันนี้พบว่า บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผ่านทางเลือกและสิ่งคัดหลั่งขณะปฏิบัติงาน ไม่มีผู้ใดทราบอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อตับอับเสบ B, ตับอักเสบ C และเอชไอวี ที่แน่นอน แต่พยาบาลนับว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดในกลุ่มของบุคลากรทางการแพทย์หรืออีกน้ยหนึ่ง นักศึกษาพยาบาลน่าจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้นักศึกษาพยาบาลจึงต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคที่ผ่านทางเลือดและสิ่งคัดหลั่ง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลในด้าน ความรู้เรื่องการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลในด้าน ความรู้เรื่องการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เจตคติต่อในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ระหว่างนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามแบบสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร 6 สถาบันที่เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 260 คน ในการตอบแบบสอบถาม และ 190 คน ในการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ ชั้นปีการศึกษา ประสบการณ์การฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อผ่านทางเลือดและสิ่งคัดหลั่ง ความรู้เรื่องการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เจตคติต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลและความพร้อมในการปฏิบัติตามหลกการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลและแบบสังเกตที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และแบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลจากการสังเกตโดยใช้ Rung Ladder ทำการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้การทดสอล t (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี คิดเป็นร้อยละ 82.14 และ 97.50 ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วย พบว่า นักศึกษาได้รับอุบัติเหตุถูกเข็มฉีดยาหรือของมีคมทิ่มตำหรือบาดถึงร้อยละ 27.86 และ 37.50 และได้รับอุบัติเหตุสิ่งคัดหลั่งกระเด็นเข้าเยื่อบุอ่อน ถึงร้อยละ 7.69 และ 18.33 ตามลำดับ 2. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยเจตคติต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลอยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยการได้รับสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบการได้รับสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลอยู่ในระดับสูง และเมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. จากการสังเกตนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลอยู่ในระดับสูง และเมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พบว่าแตกต่งกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 มีค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลจากการประเมินด้วย Rung Ladder อยู่ในระดับสูงและเมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 8. เจตคติต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล กับความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 9. สิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล กับความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมนักศึกษาให้มีความรู้เรื่องโรคที่ติดต่อผ่านทางเลือดและสิ่งคัดหลั่ง หลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ตั้งแต่ก่อนฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย และเพิ่มแหล่งข้อมูลเพื่อนักศึกษาได้ค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การจัดศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษา ฝึกทักษะการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลในห้องทดลอง ก่อนฝึกปฏิบัติจริงบนหอผู้ป่วย ควรมีการกำหนดนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติเมื่อประสบอุบัติเหตุสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่ง และการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาเมื่อประสบอุบัติเหตุสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่ง รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ให้พร้อมทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาเจาะลึกเพื่อติดตามผล ในกรณีที่นักศึกษาประสบอุบัติเหตุสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่ง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล และการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ควรมีการศึกษาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เช่น ด้านวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาเมื่อประสบอุบัติเหตุสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่ง และควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความพร้อมของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล เป็นต้น
According to high risk of blood bore exposures in health care workers, no one knows exactly how many health care workers have been occupationally infected with hepatitis B (HBV), hepatitis C (HCV) and human immunodefficiency virus (HIV). Nurses are likely to be the group of most affecter by these pathogens. Nursing students area possibly in exposed to the risk. Thus they must know how to practice universal precautions in order to reduce of risk of acquiring the infection. The purpose of this research was to study the relationship between factors affetcing the readiness of nursing students to practice universal precautions in a private higher education institutions in Bangkok Metropolis. Factors affecting the readiness to practice universal precautions were : the knowledge, attitude, facilities and nursing practice of universal precautions. The study was conducted among 260 junior and senior nursing students. The researcher developed five sets of questionnaires, which focused on personal data, the knowledge, attitude, facilities and nursing practice of universal precautions and two sets of observation on nursing practice of universal precautions. Readiness of nursing students to practice universal precautions was evaluated according to Rung Ladder. The data were analyzed by usin percentage, arithmetic mean, standard deviation, Chi-square test and student t-test. The results revealed as follows: 1. Most of both junior and senior nursing students had the experience in caring of HIV patients. During practice, they had accidental exposures to blood and body fluids by needlestick and other sharp injuries in 27.86% and 37.50%, and by mucocutaneous exposures 7.69% and 18.33% respectively. 2. The mean knowledge in universal precautions for junior and senior nursing students were in middle level. The difference of the knowledge in universal precautions between junior and senior nursing students was not significant at .05 level. 3. The attitude in practicing universal precautions of junior and senior nursing students was in high level, being better in the senior group. 4. The facilities for practice universal precautions of junior and senior nursing students were at middle level and were not different in the two groups. 5. The practice of universal precautions of junior and senior nursing students was both in high level and was not significant at .05 level. 6. The practice of universal precautions by observation of junior and senior nursing students was in high level. There was not significant difference in the two groups. 7. The readiness of nursing practice of universal precautions of junior and senior nursing students by Rung Ladder method was in high level in both groups. 8. The attitude toward universal preacutions and the readiness of nursing practice of universal precautions of junior and senior nursing students was correlated significant at .05 level. 9. The relationaship between the facilities for practicing universal precautions and the readiness of nursing practice toward universal precautions of senior nursing students was significant at .05 level. We suggest the followings to enhance nursing students to practice univeral precuations: The nursing education institutes need to improve nursing students' knowkedge by using effective teaching methods such as the development of self learning center and self learning program, instruction via mass media etc. Nursing students' skill in practicing universal precautions before caring the patients is to be approved. The nursing education institutes and workplaces must provide adequate facilities. Compensation benefits for nursing students when they have accidental exposures to blood and body fluids leading to infection. In addition, more stduies should be done to determine other factors affecting the readiness to practice universal precautions, cost of the facilities and compensation policy.