การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 393 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองประกอบด้วย แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้แรงงาน แบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบวัดการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบวัดการรับรู้สมรรถนะของตนเอง แบบวัดการรับรู้ด้านอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และแบบวัดการรับรู้ด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ใช้แรงงาานในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยภาพรวมและพฤติกรรมในแต่ละด้าน อยู่ในระดับดี 2. การรับรู้ด้านอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้สมรรถนะของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการรับรู้ด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นปัจจัยที่สามารรถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหว้ดสมุทรปราการได้ร้อยละ 56.60 (R[superscript 2] = 0.556, p<.01) ซึ่งสามารถเขียนสมการทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการในรูปแบบคะแนนดิบได้ดังนี้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ = 41.688 + 1.110 (การรับรู้ด้านอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล) + 0.642 (การรับรู้สมรรถนะของตนเอง) + 0.397 (การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ) + 0.163 (การรับรู้ด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในการทำงาน) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน ควรเน้นถึงอิทธิพลความสัมพันธ์ของบุคคล ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง และบุคลากรทางด้านสุขภาพ มีการส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานได้รับรู้ถึงความสามารถของตนเอง และรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสถานประกอบการควรมีนโยบายและจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
The objective of this research was to study the factors affecting health-promotiong behaviors of workers in Bangplee Industrial Estate, Samutprakarn. The samples included 393 workers which were selected by multistage random sampling technique. Seven questionnaires were used to collect their personal data, health-promoting behaviors, perceived benefits of health-promotiong behaviors, perceived barriers to health-promoting behavior, perceived self-efficacy, interpersonal influences, and situational influence. The data were analyzed by using percentage, means, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The workers in Bangplee Industrial Estate, Samutprakarn showed a good level of health-promoting behaviors and all sub-scale scores were in a good level as well. 2. Four variables: Interpersonal influences, perceived self-efficacy, perceived benefits of health-promoting behaviors and situational influences were significant predictors of the health-promoting behaviors of workers in Bangplee Industrial Estate, Samutprakarn at the percentage of 56.60 (R[superscript 2] = 0.556, p<.01). The regression equation in raw score was shown as follows: Health-promoting behaviors of workers in Bangplee Industrial Estate, Samutprakarn were = 41.688 + 1.110 (interpersonal influences) + 0.642 (perceived self-efficacy) + 0.397 (perceived benefits of health-promoting behaviors) + 0.163 (situational influences). The results suggest that responsible organizations should utilize interpersonal influences (families, peers, and health care providers), perceived self-efficacy, perceived benefits of health-promoting behaviors, and facilitate the workplace environment as strategies in a health promotion program.